รู้ยังPM2.5มาจากไหนจะคุมแหล่งกำเนิดยังไง

วันพฤหัส ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2568

การดู : 236

รู้ยังPM2.5มาจากไหนจะคุมแหล่งกำเนิดยังไง

แชร์ :

เปิดเวที NRCT Talk ให้ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ กางข้อมูลแจงปัญหา ฝุ่นมาจากไหน วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีคำตอบ แนะแหล่งกำเนิดฝุ่นเป็นสิ่งเดียวควบคุมได้ รัฐต้องจัดการทั้งห้ามเผา ทบทวนเวลารถบรรทุกเข้าเขตเมือง

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดเวทีแถลงข่าว NRCT Talk หัวข้อฝุ่นมาจากไหน วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีคำตอบ มี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผอ.สำนักงานวช. เป็นประธาน เมื่อวันที่ 22 ม.ค.68ที่ศูนย์สารสนเทศกลางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อาคาร วช. 8

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง กล่าวว่า วช. ภายตระหนักถึงการนำงานวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยี มาทำความเข้าใจมิติสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางมีค่าฝุ่นละออง PM2.5 สูง (สีแดง) อยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน กิจกรรม NRCT TALK ครั้งนี้ ต้องการนำเสนอข้อมูลแหล่งที่มาของฝุ่น PM2.5 จากงานวิจัยและนวัตกรรม ครอบคลุมสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเกิดฝุ่น PM2.5 โดยร่วมมือกับ ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ (HTAPC) ภายใต้แผนงานการพัฒนาการเป็นศูนย์กลางกําลังคนระดับสูง (Hub of Talent) และศูนย์กลางการเรียนรู้ (Hub of Knowledge) ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีคำตอบ ช่วยให้ประชาชนเข้าใจถึงสาเหตุฝุ่น PM2.5 เป็นแนวทางการเฝ้าระวังและป้องกันตนเอง

ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา ผอ.ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ วช. กล่าวว่า จากการศึกษางานวิจัยและนวัตกรรม มลพิษทางอากาศเกิดจากหลายสาเหตุ ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าฝุ่น PM2.5 ดังนี้ (1) แหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 เช่น การเผาในที่โล่ง การจราจร (2) สภาพภูมิอากาศ เป็นปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่อการแพร่กระจายหรือการเคลื่อนที่ของฝุ่น PM2.5 เช่น ลม ความกดอากาศ และ (3) ลักษณะภูมิประเทศ จากสาเหตุดังกล่าว พบว่ากรุงเทพมหานคร ค่าฝุ่น PM2.5 สูงในช่วงเวลากลางคืนถึงเช้า เนื่องด้วยสภาพอากาศปิดจากการหักกลับของอุณหภูมิ (inversion temperature) ทำให้อากาศไม่สามารถลอยตัวขึ้นในแนวดิ่งและแนวราบได้ตามปกติ ทำให้ค่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองเพิ่มขึ้น ประกอบกับปริมาณการจราจรที่หนาแน่นในช่วงเช้าและฝุ่นจากการเผาในที่โล่งที่ถูกพัดพามาโดยลมจากทิศตะวันออกของประเทศไทย ช่วงหลัง 10.00 น. เป็นต้น ค่าฝุ่น PM2.5 จะลดลง ปริมาณฝุ่นไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากเพดานการลอยตัวของอากาศสูงขึ้น จะเห็นได้ว่าฝุ่น PM2.5 มีอยู่ตลอดเวลา แต่ปัจจัยทางสภาพภูมิอากาศ ทำให้ค่าฝุ่นละออง PM2.5 เพิ่มสูงขึ้น เราทราบสภาพอากาศล่วงหน้าได้จากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกแบบมาตรการและนโยบายเพื่อควบคุมที่แหล่งกำเนิดฝุ่นได้ โดยใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา กล่าวว่าฝุ่นในพื้นที่ภาคกลางและกรุงเทพมหานครมาจากว่าการเผาในพื้นที่ภาคกลางและพื้นที่นอกประเทศด้านตะวันออก มีจุดความร้อนเห็นจากภาพถ่ายดาวเทียมจำนวนมาก จากการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์คำนวณทิศทางลมในสถานีตรวจวัดหลายแห่งทั้งพื้นที่ภาคกลางย่านฝั่งธนบุรีจนถึงจังหวัดสระแก้ว พบว่าทิศทางลมสอดคล้องกับกับที่พบจุดความร้อน การจัดการกับฝุ่นมลพิษที่เกิดจากการเผารัฐต้องดำเนินการ เช่นการรณรงค์ให้เลิกการเผาควรต้องมีมาตรการเชิงสนับสนุนว่าแทนการเผาวัชพืชทางการเกษตรก็ควรสนับสนุนให้ทำผลิตภัณฑ์ โดยรัฐให้การ สนับสนุน การแปรรูปวัสดุการขนส่งเพราะเกษตรกรคงมีทุนไม่พอ

ดร.สุพัฒน์ กล่าวถึงประเด็นมลพิษจากรถยนต์ในกรุงเทพฯว่าสำหรับรถบรรทุกที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลที่อนุญาตให้เข้ามาในเขตเมืองช่วงกลางคืนคงจะต้องมีการพิจารณาใหม่เนื่องจากว่าจะเป็นช่วงที่มลพิษเริ่มสูงขึ้นในช่วงกลางดึกจนถึงเช้ามืด ในขณะเดียวกันก็ต้องหาวิธีจัดการกับการจราจรให้ติดขัดน้อยลง แม้ปัจจุบันมีระบบขนส่งมวลชนไฟฟ้าแต่ก็ไม่มีระบบการเชื่อมต่อที่ดีทำให้ประชาชนไม่สะดวกในการเดินทาง จึงต้องคิดอย่างมีระบบ มิฉะนั้นอาจเกิดปัญหาว่าบริเวณสถานีรถไฟฟ้ากลายเป็นจุดที่มีรถแท็กซี่จอดรอรับคนที่ลงจากรถไฟฟ้าและเป็นย่านที่มีการจราจรติดขัดอะไร

นายจรูญ เลาหเลิศชัย อดีตผอ.ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ กรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวถึงปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาที่ส่งผลต่อค่าฝุ่น PM2.5 จาก ความเสถียรของชั้นบรรยากาศ และ ความแตกต่างของอุณหภูมิ ที่ความสูงระดับต่าง ๆ ของชั้นบรรยากาศ มีผลต่อการเคลื่อนที่ของฝุ่นเข้าไปแทรกหรืออยู่ในชั้นบรรยากาศ เมื่อขอบเขตของบรรยากาศที่ไม่เสถียร (unstable boundary layer) มีชั้น mixed layer สูงมาก การแผ่คลื่นความร้อน ซึ่งเป็นความยาวคลื่นช่วงยาวจะทำให้บรรยากาศที่ใกล้ผิวดินร้อน อากาศที่ร้อนจะลอยตัวขึ้นด้านบนแบบหมุนวน (turbulence) พาฝุ่นหมุนวนขึ้นไปด้านบนได้สูง ในทางตรงข้ามการกระจายของฝุ่นเข้าไปแทรกในบรรยากาศจะทำได้ไม่ดีในฤดูหนาวที่มีเมฆมาก เกิดการผกผันของอุณหภูมิ (inversion ) ทำให้ขอบเขตของชั้นบรรยากาศเป็นแบบเสถียร บรรยากาศในระดับที่ใกล้พื้นผิวดินมีอุณหภูมิต่ำกว่าบรรยากาศที่อยู่ด้านบน อากาศเย็นจะจมลงแทนที่จะลอยตัวขึ้นด้านบน จึงไม่เกิดการเคลื่อนที่แบบหมุนวน ทำให้เมื่ออากาศเสถียร (นิ่ง) เกิดการกระจายตัวของฝุ่นได้น้อย ปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาดังกล่าว เป็นวัฏจักรธรรมชาติตามรอบปี เป็นที่มาของค่าฝุ่น PM2.5 ที่มักสูงในช่วงต้นปี เป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้

นายจรูญกล่าวอีกว่าวันที่ 26-27 มค.68 คุณภาพอากาศจะดีขึ้นมีลมแรงจากความกดอากาศสูงเข้ามาใหม่ หลังจากนั้นก็จะแย่ลง

ข่าวอัพเดท

สัมมนาเจ้าหน้าที่กงสุลทั่วโลก ติวเข้มบริการทันสมัยทุกมิติ

สัมมนาเจ้าหน้าที่กงสุลทั่วโลก ติวเข้มบริการทันสมัยทุกมิติ

วันจันทร์ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

TJA รับมอบทุนการศึกษาระดับ ป.โท จากซีพี ออลล์ เพื่อพัฒนาศักยภาพสื่อมวลชน

TJA รับมอบทุนการศึกษาระดับ ป.โท จากซีพี ออลล์ เพื่อพัฒนาศักยภาพสื่อมวลชน

วันจันทร์ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

”ไทยรัฐ-มติชน-ข่าวสด-เดลินิวส์“คว้ารางวัลประกวดพาดหัวข่าวสร้างสรรค์ดีเด่น

”ไทยรัฐ-มติชน-ข่าวสด-เดลินิวส์“คว้ารางวัลประกวดพาดหัวข่าวสร้างสรรค์ดีเด่น

วันเสาร์ ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

ชี้โอกาสไทยยังมีให้ลงทุนวิจัยนวัตกรรมที่คืนทุนไวใช้ได้จริง

ชี้โอกาสไทยยังมีให้ลงทุนวิจัยนวัตกรรมที่คืนทุนไวใช้ได้จริง

วันเสาร์ ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

อว.-มท.เดินเครื่องรับมืออุทกภัยน้ำแล้ง

อว.-มท.เดินเครื่องรับมืออุทกภัยน้ำแล้ง

วันพุธ ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

สนท.มอบรางวัล “เกียรติยศคนหนังสือพิมพ์” เชิดชูเกียรติ “พงษ์ศักดิ์-สุทธิชัย-ซูม”

สนท.มอบรางวัล “เกียรติยศคนหนังสือพิมพ์” เชิดชูเกียรติ “พงษ์ศักดิ์-สุทธิชัย-ซูม”

วันพุธ ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

มจธ. พัฒนาอะลูมิเนียมใหม่ทนร้อนสูงผสมScธาตุหายากเพื่ออุตสาหกรรม EV

มจธ. พัฒนาอะลูมิเนียมใหม่ทนร้อนสูงผสมScธาตุหายากเพื่ออุตสาหกรรม EV

วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

ข่าวที่เกี่ยวข้อง