logo-4

พิพิธภัณฑ์

ประวัติความเป็นมา

พิพิธภัณฑ์หนังสือพิมพ์ไทยจัดสร้างขึ้น โดยการริเริ่มโครงการของ นายชัยรัตน์คำนวณนายกสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยฯ(๒๕๓๑-๒๕๔๕)ตามแนวทางการวิจัยของรศ.ดร.สมควรกวียะโดยมีผู้สนับสนุนการดำเนินการจัดสร้างอาคารโดยมูลนิธิธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) และอีกหลายๆ ท่าน

image-20 image-21 image-22

การริเริ่มของพิพิธภัณฑ์หนังสือพิมพ์ไทย

พิพิธภัณฑ์หนังสือพิมพ์ไทยจัดสร้างขึ้นโดยการริเริ่มโครงการของนายชัยรัตน์คำนวณนายกสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยฯ(๒๕๓๑-๒๕๔๕)ตามแนวทางการวิจัยของรศ.ดร.สมควรกวียะโดยมีผู้สนับสนุนการดำเนินการจัดสร้างอาคารโดยมูลนิธิธนาคารกรุงเทพ,ธนาคารกรุงเทพจำกัด(มหาชน)และอีกหลายๆสำหรับการวางแผนงานและข้อมูลนั้นได้มีคณะกรรมการและคณะทำงานรับผิดชอบโดยมีนายพลาดิศัยสิทธิธัญกิจและคณะได้ศึกษาข้อมูลและจัดรูปแบบให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านวิชาการหนังสือพิมพ์และสื่อสารมวลชนให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพด้วยการสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานจากบริษัทการบินไทยจำกัด(มหาชน)และสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจน แล้วเสร็จในปีพ.ศ.๒๕๔๖นอกจากจะเป็นแหล่งศึกษาวิจัยและค้นคว้าข้อมูลด้านหนังสือพิมพ์และสื่อสารมวลชนแล้วยังได้จัดกิจกรรมทางวิชาการให้ความรู้ในระยะสั้นแก่ผู้สนใจและ นักศึกษาสาขาวารสารศาสตร์นิเทศศาสตร์สื่อสารมวลชนเทคโนโลยีทางการศึกษาโดยมีวิทยากรผู้ชำนาญการจากสถาบันการศึกษาร่วมพัฒนาให้เป็นเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูลแก่งศึกษาวิจัยทุกระดับ

image-24 image-25

นิทรรศการถาวรพิพิธภัณฑ์หนังสือพิมพ์ไทย

ห้องแสดงสำนักงานหนังสือพิมพ์ในอดีตจัดจำลองสำนักพิมพ์ที่มีเจ้าของบรรณาธิการนักข่าวและช่างพิมพ์ทำงานร่วมกันโดยมีวีดีทัศน์เสนอบรรยากาศการทำหนังสือพิมพ์ในอดีตอยู่ด้านหลังเจ้าของและบรรณาธิการในยุคแรกจะเป็นบุคคลเดียวกันทำหน้าที่เป็นเจ้าของและบรรณาธิการผู้รับผิดชอบการเขียนบทความและข่าวรวมทั้งการจัดรูปแบบของหนังสือพิมพ์ในอดีตนั้นบรรณาธิการมักเป็นนักเขียนด้วยนักข่าวหรือผู้สื่อข่าวสามารถเขียนข่าวได้ทุกประเภทตามที่บรรณาธิการต้องการรวมไปถึงการถ่ายภาพด้วยช่างพิมพ์สามารถเรียงพิมพ์และเป็นช่างพิมพ์ด้วยสามารถจัดหน้าและแกะบล็อกไม้สำหรับพิมพ์ภาพลายเส้นประกอบและพาดหัวได้ต่อมาเมื่อกิจการของหนังสือพิมพ์ได้พัฒนาขึ้นตามจำนวนประชากรและเทคโนโลยี จึงได้มีการจัดแยกหน้าที่กันเพื่อทำงานให้รวดเร็ว และสอดคล้องกับระบบการพิมพ์ที่ทันสมัย รวมทั้งการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำข่าว และการพิมพ์ โดยมีเครื่องมือสื่อสารส่งข่าวที่รวดเร็ว และใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดหน้าหนังสือ และควบคุมระบบการพิมพ์ บทบาทด้านการเมืองเศรษฐกิจและสังคมส่วนที่สองนี้เป็นการเสนอข่าวและข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมืองเศรษฐกิจและสังคมบันทึกข้อเท็จจริงและความคิดเห็นที่พัฒนาความคิดและความรู้ให้กับผู้อ่านตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบันซึ่งจำเป็นจะต้องอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่และมีการสรุปข้อมูลเฉพาะด้านเป็นภาพโปร่งแสงที่จัดแสดงไว้ควบคู่กันไป นักหนังสือพิมพ์ผู้มีบทบาทสำคัญในอดีตส่วนนี้นำเสนอภาพและประวัติของนักหนังสือพิมพ์ที่มีบทบาทสำคัญและผลงานด้านวิชาชีพหนังสือพิมพ์เป็นที่ยอมรับของสังคมในอดีตที่มีอุดมการณ์น่ายกย่องอาทิตวส.ตวส.วรรณาโภ(เทียนวรรณ),พระราชวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒติยาลงกรณ์(น.ม.ส.),พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์, ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา), โชติ แพร่พันธุ์ (ยาขอบ), เฉลิม วุฒิโฆษิต (เฉลิมวุฒิ), เสฐียร พันธรังษีมาลัย ชูพินิจ (ม.ชูพินิจ), อิศรา อมันตกุล พระมหากษัตริย์กับกิจการหนังสือพิมพ์

รายละเอียดพิพิธภัณฑ์

แหล่งการเรียนรู้วิชาชีพหนังสือพิมพ์ของไทยที่ให้ความรู้กิจการหนังสือพิมพ์ในอดีตปัจจุบันและประวัติของนักหนังสือพิมพ์ไทยที่มีชื่อเสียงของประเทศโดยสมาคมหนังสือพิมพ์ แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นสมาคมวิชาชีพของหนังสือพิมพ์แห่งแรกที่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2484

กิจการหนังสือพิมพ์ในอดีต

พระบิดาแห่งการพิมพ์และนิเทศศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๔พระองค์ทรงริเริ่มกิจการพิมพ์ในโรงพิมพ์หลวงและออกราชกิจจานุเบกษาเป็นหนังสือพิมพ์ข่าวราชสำนักโดยเป็นบรรณาธิการ ด้วยพระองค์เอง พระบิดาแห่งหนังสือพิมพ์ไทย พระองค์ทรงออกหนังสือพิมพ์ “พิมพ์ไทย” เพื่อส่งเสริม เสรีภาพของวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ทรงพระราชนิพนธ์บทความและ ริเริ่มการใช้นามปากกา ในกิจการหนังสือพิมพ์

กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ในอดีต

หนังสือพิมพ์ยุคแรก การเขียนตัวอักษร และพิมพ์ด้วยหมึกบนแท่นพิมพ์หลายแบบ

1 2
3
4
5
6

ติดต่อเรา

กรุณานัดหมายล่วงหน้า

ในวันทำการของสมาคมฯ

7
8

พิพิธภัณฑ์

โดยการริเริ่มโครงการของนายชัยรัตน์คำนวณ นายกสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยฯ (๒๕๓๑-๒๕๔๕)

9