banner

ประวัติความเป็นมา

สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์หรือเดิมชื่อสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเป็นสมาคมสื่อสารมวลชนแห่งหนึ่งของ ประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2484

การแยกตัวของสมาชิก พ.ศ. 2498

ในปี พ.ศ. 2498 สมาชิกของสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยกลุ่มหนึ่ง รู้สึกว่าสมาคมหนังสือพิมพ์ฯ นั้นถูกครอบงำโดยอำนาจทางการเมือง อีกทั้งไม่พึงพอใจในการแถลงงบดุลอย่างคลุมเครือในการประชุมสามัญประจำปี จนถึงขั้นประท้วงเดินออกจากห้องประชุมจนเกือบหมด ไม่กี่วันหลังจากนั้น นักข่าวนักหนังสือพิมพ์ส่วนหนึ่งได้จับกลุ่มกันคิดที่จะก่อตั้งสมาคมใหม่ ที่มีวัตถุประสงค์ตรงกับ อุดมการณ์ของตน และใช้ชื่อว่า "สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย

logo
image-13
image-14 image-15

สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย

สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยเป็นองค์กรวิชาชีพของสื่อมวลชนไทยก่อตั้งเมื่อพ.ศ.2498และต่อมาได้รวมกับสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กลายเป็นสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่2มีนาคมพ.ศ.2543สมาคมนักข่าวฯก่อตั้งขึ้นเนื่องจากสมาชิกสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยกลุ่มหนึ่งรู้สึกว่าสมาคมหนังสือพิมพ์ฯนั้นถูกครอบงำโดยอำนาจทางการเมืองอีกทั้งไม่พึงพอใจในการแถลงงบดุลอย่างคลุมเครือในการประชุมสามัญประจำปีจนถึงขั้นประท้วง"วอล์กเอาท์"เดินออกจากห้องประชุมจนเกือบหมดไม่กี่วันหลังจากนั้นนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ส่วนหนึ่งได้จับกลุ่มกันคิดที่จะก่อตั้งสมาคมใหม่ ที่มีวัตถุประสงค์ตรงกับ อุดมการณ์ของตน และใช้ชื่อว่า "สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย

คณะกรรมการชุดปัจจุบัน

รายนามคณะกรรมการบรินาร สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชปถัมภ์ ประจำปี 2566-2569

logo-3 board

อดีตนายกสมาคม

พระยาปรีชานุสาสน์ (เสริณปันยารชุน)

พระยาปรีชานุสาสน์ (เสริณปันยารชุน)

พ.ศ. 2484-2485

นายมานิต วสุวัต

นายมานิต วสุวัต

พ.ศ. 2486-2487

นายกุหลาบ สายประดิบฐ์

นายกุหลาบ สายประดิบฐ์

พ.ศ. 2488-2489

นายประสิทธิ์ สมิตะศิริ

นายประสิทธิ์ สมิตะศิริ

พ.ศ. 2490-2494

นายโชติ แพร่พันธุ์

นายโชติ แพร่พันธุ์

พ.ศ. 2491-2492

นายอารีย์ ลีวิระ

นายอารีย์ ลีวิระ

พ.ศ. 2493

ม.จ.ประสบสุข ศุขสวัสดิ

ม.จ.ประสบสุข ศุขสวัสดิ

พ.ศ. 2495

รท.สมพันธ์ ขันธะชวนะ

รท.สมพันธ์ ขันธะชวนะ

พ.ศ. 2496-2498

นายเลียว ศรีเสวก

นายเลียว ศรีเสวก

พ.ศ. 2499

นายสมัย เรืองไกร

นายสมัย เรืองไกร

พ.ศ. 2500 / 2503

นายอุทธรณ์ พลกุล

นายอุทธรณ์ พลกุล

พ.ศ. 2501

นายบุญวงศ์ อมาตยกุล

นายบุญวงศ์ อมาตยกุล

พ.ศ. 2502-2503 , 2507-2510

นายสุรจิต จันทรสาขา

นายสุรจิต จันทรสาขา

พ.ศ.2504-2506

นายชาญชัยศรี พลกุล

นายชาญชัยศรี พลกุล

พ.ศ. 2511-2512

นายจรูญ กุวานนท์

นายจรูญ กุวานนท์

พ.ศ. 2513-2516

นายวสันต์ ชูสกุล

นายวสันต์ ชูสกุล

พ.ศ. 2517-2518

นายชอบ มณีน้อย

นายชอบ มณีน้อย

พ.ศ. 2519-2522

นายปรีชา สามัคคีธรรม

นายปรีชา สามัคคีธรรม

พ.ศ. 2523-2524

นายประจวบ ทองอุไร

นายประจวบ ทองอุไร

พ.ศ. 2525-2527

นายละเอียด พิบูลสวัสดิ์

นายละเอียด พิบูลสวัสดิ์

พ.ศ. 2528-2530

นายชัยรัตน์ คำนวณ

นายชัยรัตน์ คำนวณ

พ.ศ. 2531-2540 , 2544-2546

นายระวิ โหลทอง

นายระวิ โหลทอง

พ.ศ. 2541-2543

นายมานิตย์ ลือประไพ

นายมานิตย์ ลือประไพ

พ.ศ. 2546-2549 , 2550-2552

นายทวยเทพ ไวทยานนท์

นายทวยเทพ ไวทยานนท์

พ.ศ. 2552-2554 , 2555-2565

ธรรมนูญ สมาคมฯ

logo-2

วิสัยทัศน์ เป็นสถาบันหลักของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน

นโยบายในการดำเนินงาน 1. พัฒนาความเป็นปึกแผ่นขององค์กรวิชาชีพหลังการรวมสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยและสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย 2. ส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ ยึดมั่นในจริยธรรมและความเป็นกลาง เพื่อให้เกิดการยอมรับและน่าเชื่อถือในวิชาชีพต่อสังคม 3. พัฒนาการประกอบวิชาชีพ โดยเน้นการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การเป็นผู้นำทางความคิด 4. สร้างและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาคมฯ สมาชิก องค์กรผู้ประกอบธุรกิจสื่อมวลชน และองค์กรวิชาชีพในต่างประเทศ

การบริหารงาน

คณะกรรมการสมาคมมีทั้งหมด 15 คน มีวาระในการดำรงตำแหน่งวาระละ 2 ปี โดยเป็นผู้แทนมาจากหนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ ที่มีสมาชิกสมาคมสังกัดอยู่ และได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่สมาชิกสมาคมซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 4 มีนาคม ของทุกปี สมาคมฯ มีสำนักงานเลขาธิการซึ่งมีเจ้าหน้าที่ประจำทำงานเต็มเวลา จำนวน 6 คน

สมาชิกภาพ

เดิมสมาคมมีสมาชิกที่เป็นเฉพาะนักหนังสือพิมพ์จากหนังสือพิมพ์ข่าวทั้งรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน และได้เริ่มขยายขอบเขตของสมาชิกโดยการรับนักข่าวจากวิทยุและโทรทัศน์เข้าร่วมเป็นสมาชิกวิสามัญในปี 2540 โดยสมาชิกจะต้องชำระค่าบำรุงปีละ 300 บาท

กิจกรรม

กิจกรรมด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ สมาคมเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการรณรงค์เคลื่อนไหว เพื่อเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารของประชาชนและสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชน เช่น การรณรงค์ให้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติการพิมพ์ การเรียกร้องต่อรัฐบาลในการเปิดให้สื่อมวลชนเข้าฟังการพิจารณางบประมาณประจำปี การติดตามการทำงานของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารทางราชการ ฯลฯ