CADT DPU ยกระดับหลักสูตรลักซ์ชัวรีเซอร์วิส
วันอาทิตย์ ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2567
การดู : 180

แชร์ :
อุตสาหกรรมการบินเอเชียและทั่วโลกโตต่อเนื่อง ว.การบิน (CADT) ธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) คว้าโอกาส เปิดหลักสูตร อบรม ติวเข้มเซอร์วิสระดับลักซ์ชัวรี เติมความรู้สิ่งแวดล้อม วางเป้าดูดคนรุ่นใหม่เข้าอุตสาหกรรมการบินมากขึ้น
อาจารย์ปวรรัตน์ สุภิมารส รักษาการคณบดี วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน (CADT) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมการบินในภูมิภาคเอเชีย และทั่วโลกฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ผลประกอบการของธุรกิจการบินเติบโตเป็นบวก การเปิดเส้นทางบินใหม่ จำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้นในจุดท่องเที่ยวสำคัญ เช่น ไต้หวันและฮ่องกง ส่งผลให้มีการเปิดรับบุคลากรเข้าทำงานหลายตำแหน่งงาน รองรับการขยายตัวของธุรกิจ ทุกอย่างเริ่มกลับมาอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19
อาจารย์ปวรรัตน์ กล่าวว่า อีกหนึ่งแนวโน้ม เป็นการแข่งขันกันนำเสนอบริการที่แตกต่าง เป็นพรีเมียมมากขึ้น CADT DPU ได้ยกระดับการเรียนการสอนไปในทางที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมการบิน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการให้บริการในระดับลักซ์ชัวรีให้กับนักศึกษาและบุคลากรในอุตสาหกรรมการบิน

วิทยาลัยฯ และ DAA สถาบันฝึกอบรมด้านการบินที่ได้รับรองให้เป็น Authorized Training Center (ATC) ของสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) เตรียมนำเสนอความเป็น “ลักซ์ชัวรี เซอร์วิส” ในการเรียนการสอน และจัดอบรม เพื่อยกระดับงานบริการที่เป็นพิเศษและแตกต่างในทุกมิติ ตั้งแต่ท่าทาง การแต่งกาย บุคลิก การสื่อสาร และอื่น ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรม และนักศึกษาที่เรียนในหลักสูตรปริญญาตรีทั้ง 2 สาขา ได้แก่ สาขาธุรกิจการบิน และสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีและการอำนวยการบิน
“การให้บริการเป็นจุดเด่นคนไทย เป็นที่ยอมรับจากต่างชาติอยู่แล้ว เมื่อเพิ่มการอบรมและพัฒนา สร้างทัศนคติที่ดีด้านบริการจะยิ่งทำให้เป็นข้อได้เปรียบ เป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับบุคลากรในอุตสาหกรรมการบิน และนักศึกษา มีทักษะที่โดดเด่น เป็นที่ต้องการของตลาดงานทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต เป็นทักษะที่เอไอ หรือ Artificial Intelligence ไม่สามารถสัมผัสความรู้สึกระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ได้ดีเท่ากับการบริการโดยบุคลากรที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี และยังเพิ่มมุมมองการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้กับนักศึกษาตามแนวทางอุตสาหกรรมการบินที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ หรือ Net Zero ในปี ค.ศ.2050” อาจารย์ปวรรัตน์ กล่าว
ขณะเดียวกันได้เปิดโอกาสให้กับนักศึกษาไปฝึกงานในสถานที่จริง ล่าสุดได้ลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการและวิชาชีพกับบริษัท ไทย เวียตเจ็ท แอร์ จอยท์ สต็อค จำกัด (เวียตเจ็ทไทยแลนด์) ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกงานปฏิบัติงานจริงในตำแหน่งต่าง ๆ ของสายการบินเวียตเจ็ทไทยแลนด์
รายงานการวิจัยตลาดของ Data Bridge Market Research คาดการณ์อุตสาหกรรมการบินในเอเชียแปซิฟิก (APAC) เป็นภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดจากจำนวนผู้โดยสารทางอากาศเพิ่มมากขึ้น การเพิ่มขนาดฝูงบินของสายการบินต่าง ๆ คาดว่าการเติบโตขึ้นจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องถึงปี 2028
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://cadt.dpu.ac.th/ และ https://www.daatraining.com/
ข่าวอัพเดท

ไทยโกย25เหรียญทองสิ่งประดิษฐ์งานประกวดเจนีวา
วันพฤหัส ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2568

คนนับล้านชื่นชอบรถพาเหรดไทยของ “สวนนงนุช”ในงาน”เทศกาลดอกไม้“ระดับโลก
วันเสาร์ ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2568

เปิดไทม์ไลน์ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก 77 จังหวัดปี 2568
วันเสาร์ ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2568

ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกสุดรอบปีคืนสงกรานต์
วันเสาร์ ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2568

‘วันว่าง’ ม.ทักษิณ ยิ่งใหญ่โชว์ ‘เบญจา’แทงหยวกงดงาม
วันเสาร์ ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2568

หุ่นยนต์ + AI + เกม ฟื้นฟูผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงรับยุคสังคมสูงวัย
วันเสาร์ ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2568
