ชวนดีพเทคสตาร์ตอัปจับคู่อุตสาหกรรมสู่เทคโนขั้นสูง

วันจันทร์ ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2567

การดู : 153

ชวนดีพเทคสตาร์ตอัปจับคู่อุตสาหกรรมสู่เทคโนขั้นสูง

แชร์ :

NIA – สภาอุตสาหกรรม ดึง 11 ดีพเทคสตาร์ตอัปร่วมจับคู่นวัตกรรม กับสมาชิก FTI 11,000 ราย พลิกโฉม ธุรกิจ ระบบผลิต และบริการ เข้าถึงเทคโนโลยีเชิงลึก นำร่องครั้งแรกนิคมฯ อยุธยา

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI) เครือข่ายพันธมิตรทั้งภาคอุตสาหกรรม การศึกษา และนักลงทุน เปิดตัว 11 ดีพเทคสตาร์ตอัป (สตาร์ตอัปที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึก)ที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมสตาร์ตอัปที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึกสู่การขยายตลาด หรือ FTI DeepTech Startup Connext 2024 ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการพัฒนาโซลูชั่นเพื่อแก้ปัญหาให้ภาคอุตสาหกรรม

ข่าวแจ้งว่า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ขยายการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมของสตาร์ตอัปไปสู่ภูมิภาค โดยจัดงาน FTI Matching Day ที่จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งอยู่ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ มีนิคมอุตสาหกรรมและภาคอุตสาหกรรมจำนวนมากที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยจะได้พบกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากสตาร์ตอัปที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึก ที่เข้าร่วมโครงการตั้งแต่ปี 2023 – 2024 มากกว่า 20 ราย กำหนดจัดขึ้นวันที่ 30 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00 - 12.00 น. ที่โรงแรมคลาสสิค คามิโอ พระนครศรีอยุธยา ลงทะเบียนเข้าร่วมงานที่ https://url.fti.or.th/l/n6TzIHBvS

ภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจที่สนใจจับคู่ธุรกิจและทดสอบการใช้งานสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ โทร 091-541 5542 (สิรพัฒน์) อีเมล sirapat@nia.or.th และ โทร. 092-263 5600 (ศิริภัสร์) irdi.matchingcenter@gmail.com

ดร. กริชผกา บุญเฟื่อง ผอ.สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า NIA ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมฯ ดำเนินโครงการส่งเสริมสตาร์ตอัปที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึกสู่การขยายตลาด เป็นปีที่ 2 คัดเลือกสตาร์ตอัปที่มีความสามารถพร้อมแก้ปัญหาให้กับภาคอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีเซ็นเซอร์และอินเทอร์เน็ตสำหรับสรรพสิ่ง(IoT) เทคโนโลยีหุ่นยนต์และโดรน วัสดุใหม่ นาโนเทคโนโลยี และเทคโนโลยีชีวภาพ ช่วยสร้างโอกาสการจับคู่ ร่วมมือทางธุรกิจกับภาคอุตสาหกรรมของไทย ให้เกิดการทดสอบใช้งานเป็นต้นแบบระดับอุตสาหกรรม ผลดำเนินงานในปีที่ผ่านมา สร้างยอดขายให้กับสตาร์ตอัปที่เข้าร่วมโครงการมากกว่า 300 ล้านบาท นับเป็นการพัฒนาศักยภาพสตาร์ตอัปที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึกให้มีความพร้อม เพิ่มผู้ใช้งาน และขยายการใช้งานทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ดร. กริชผกา บุญเฟื่อง

 

 

ดีพเทคสตาร์ตอัป เป็นรูปแบบธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึก บนพื้นฐานการวิจัยขั้นสูงช่วยสร้างให้เกิดตลาดใหม่ เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นส่วนใหญ่จะได้รับการปกป้องด้วยกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญายากต่อการลอกเลียน จึงได้เปรียบทางการแข่งขันหรือเป็นอุปสรรคต่อคู่แข่ง

นายวิวรรธน์ เหมมณฑารพ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธานสถาบันนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม กล่าวว่าได้ร่วมมือกับ NIA สร้างสะพานเชื่อมระหว่างสตาร์ตอัปที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึก ให้มีช่องทางขยายการใช้งานสู่ภาคอุตสาหกรรม สมาชิก FTI มากกว่า 11,000 ราย และภาคธุรกิจอื่น ๆ โดยได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายพันธมิตร ได้แก่ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย บริษัท อินโนสเปซ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท วาย แอนด์ อาร์เชอร์ จำกัด ประเทศเกาหลี และบริษัทสมาชิกจากสถาบันนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม ที่ร่วมกันคัดเลือก พัฒน ให้คำแนะนำกับสตาร์ตอัปให้สามารถปรับกลยุทธ์ด้านการสร้างตลาด เตรียมข้อมูลเสนอลูกค้า การเจรจาต่อรอง รวมถึงเทคนิคทดสอบการใช้งานลูกค้า แหล่งเงินทุนสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ

วิวรรธน์ เหมมณฑารพ

 

มีสตาร์ตอัปที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึกจำนวน 11 ราย ที่ได้รับการคัดเลือก

ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารและโรงงาน ได้แก่ 1. AltoTech Global: แพลตฟอร์มวิเคราะห์ ตรวจสอบ และจัดการการใช้พลังงานภายในอาคารด้วย AIoT 2. Green EMS: ระบบบริหารจัดการพลังงานสีเขียว ด้วยการจัดการพลังงานแบบกระจายศูนย์ในโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ 3. Thilium: ฉนวนและสีทาอาคารประหยัดพลังงานด้วยซิลิกาแอโรเจล 

ด้านระบบบริหารจัดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ได้แก่ 4. iCube: แพลตฟอร์มการบริหารจัดการวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างโมเดลในการพยากรณ์ข้อมูลๆต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมด้วย Generative AI 

ระบบบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงคาดการณ์เพื่อลดความเสียหายของเครื่องจักร ได้แก่ 5. Cleantech & Beyond: ฉลากอัจฉริยะสำหรับการตรวจสอบความร้อนของเครื่องจักรในงานบำรุงรักษาเชิงป้องกันด้วย Digital Temperature Indicator 6. Zycoda: ระบบบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงแบบครบวงจรด้วย anomaly detection algorithm AI และ ML

ระบบบำบัดน้ำเสียประสิทธิภาพสูง ได้แก่ 7. Wonder Bubble: ระบบบำบัดน้ำเสียใช้เทคโนโลยีชีวภาพร่วมกับการใช้ Micro-nano bubble ช่วยลดการใช้พลังงาน ช่วยลดกลิ่นเหม็น ช่วยย่อยสลายตะกอนและไขมัน

การเปลี่ยนกลิ่นเป็นดิจิทัลที่ตรวจวัดได้ ได้แก่ 8. ENVI SENSE: สถานีตรวจวัดกลิ่นและคุณภาพอากาศแบบออนไลน์ และบริการตรวจวัดกลิ่นรบกวน

การเพิ่มประสิทธิภาพงานทรัพยากรบุคคลและการทำงาน 9. Job Solution: ระบบสัมภาษณ์งานออนไลน์และประเมินสมรรถนะของผู้สมัครงานด้วยเทคโนโลยี AI 10. Dynamic Intelligence Asia: ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าและสามารถจำแนกเอกลักษณ์ของมนุษย์แต่ละบุคคลได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการรักษาความปลอดภัย

สารเติมแต่งคุณภาพสูง ได้แก่ 11. Ecoguard plus: ระบบอนุภาคนาโนกักเก็บสารเอทิลลออยล์อาร์จิเนตเป็นสารกันเสียทางเลือกใหม่ในอุสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอาง

ข่าวอัพเดท

สัมมนาเจ้าหน้าที่กงสุลทั่วโลก ติวเข้มบริการทันสมัยทุกมิติ

สัมมนาเจ้าหน้าที่กงสุลทั่วโลก ติวเข้มบริการทันสมัยทุกมิติ

วันจันทร์ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

TJA รับมอบทุนการศึกษาระดับ ป.โท จากซีพี ออลล์ เพื่อพัฒนาศักยภาพสื่อมวลชน

TJA รับมอบทุนการศึกษาระดับ ป.โท จากซีพี ออลล์ เพื่อพัฒนาศักยภาพสื่อมวลชน

วันจันทร์ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

”ไทยรัฐ-มติชน-ข่าวสด-เดลินิวส์“คว้ารางวัลประกวดพาดหัวข่าวสร้างสรรค์ดีเด่น

”ไทยรัฐ-มติชน-ข่าวสด-เดลินิวส์“คว้ารางวัลประกวดพาดหัวข่าวสร้างสรรค์ดีเด่น

วันเสาร์ ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

ชี้โอกาสไทยยังมีให้ลงทุนวิจัยนวัตกรรมที่คืนทุนไวใช้ได้จริง

ชี้โอกาสไทยยังมีให้ลงทุนวิจัยนวัตกรรมที่คืนทุนไวใช้ได้จริง

วันเสาร์ ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

อว.-มท.เดินเครื่องรับมืออุทกภัยน้ำแล้ง

อว.-มท.เดินเครื่องรับมืออุทกภัยน้ำแล้ง

วันพุธ ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

สนท.มอบรางวัล “เกียรติยศคนหนังสือพิมพ์” เชิดชูเกียรติ “พงษ์ศักดิ์-สุทธิชัย-ซูม”

สนท.มอบรางวัล “เกียรติยศคนหนังสือพิมพ์” เชิดชูเกียรติ “พงษ์ศักดิ์-สุทธิชัย-ซูม”

วันพุธ ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

ข่าวที่เกี่ยวข้อง