อีคอมเมิร์ซ2025เดือดแนะลดพึ่งอีมาร์เก็ตเพลาส

วันจันทร์ ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2567

การดู : 9

อีคอมเมิร์ซ2025เดือดแนะลดพึ่งอีมาร์เก็ตเพลาส

แชร์ :

ป้อม ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ผู้บุกเบิกอีคอมเมิร์ซ ธุรกิจดิจิทัลไทย ประธาน บ. เพย์โซลูชั่น ผู้ให้บริการชำระเงินออนไลน์แห่งแรก คาดการทิศทางอีคอมเมิร์ซ 12 ประการ  แนะผู้ค้าออนไลน์เตรียมพร้อม ปรับตั

1. อีมาร์เก็ตเพลส แข่งดุ ผูกขาด ยึดลูกค้าเป็นตัวประกัน :  ปี 2025 การแข่งขันในตลาดอีมาร์เก็ตเพลสจะดุเดือดขึ้น หลายแพลตฟอร์ม รุกเข้าธุรกิจอื่นเพื่อให้ครบวงจร เช่น สร้างระบบชำระเงินของตนเอง มีบริการขนส่งเพื่อรองรับธุรกรรมภายในระบบ เช่น Shopee ขยายไปสู่ฟู้ดเดลิเวอรี่ ขายประกัน และให้บริการสินเชื่อ ส่วน Grab จากบริการขนส่งสินค้า เดลิเวอรี่ ขยายสู่บริการสินเชื่อบนแพลตฟอร์มและไรเดอร์

อีมาร์เก็ตเพลสในไทย ผูกขาดเบ็ดเสร็จโดยยักษ์ใหญ่ต่างชาติ ไม่กี่ราย ขึ้นค่าธรรมเนียมตามอำเภอใจ ไร้การควบคุมจากภาครัฐ ยึดข้อมูล ทำให้ผู้ค้าเข้าไม่ถึงชื่อ เบอร์โทร ที่อยู่ของลูกค้า อยู่ในสถานะจำยอม ไม่สามารถนำข้อมูลไปทำการตลาดเอง จะย้ายฐานลูกค้าข้ามแพลตฟอร์มก็ทำไม่ได้

2. ช่องทางการค้าของตัวเอง (Owned Channel) ลดการพึ่งพาอีมาร์เก็ตเพลส : ผู้ค้าควรพัฒนาช่องทางการขายของตนเอง หรือ Owned Channel เหมือนการสร้างบ้านเอง ส่วน E-Marketplace คือคอนโดที่เช่าอยู่ ทำให้เข้าถึงข้อมูลลูกค้าได้ สร้างสัมพันธ์กับลูกค้า และเพิ่มโอกาสในการซื้อซ้ำได้มากขึ้น

ปัจจุบัน มีผู้ให้บริการที่จะทำให้ Owned Channel เชื่อมต่อระบบชำระเงินและระบบขนส่งได้โดยตรง ช่วยให้ธุรกรรมคล่องตัว ลดการพึ่งพาอีมาร์เก็ตเพลส เช่น บริการจาก Pay Solutions ที่เชื่อมต่อกับระบบชำระเงินของ Owned Channel ได้ทุกช่องทาง รองรับการชำระผ่านเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน บัตรเดบิต บัตรเครดิต Mobile Banking หรือ Alipay WeChat Pay และชำระที่เคาน์เตอร์ด้วยเครื่องรูดบัตร All-in-one รองรับการผ่อนชำระทุกธนาคาร

Pay Solutions พร้อมเป็นพาร์ทเนอร์ที่แข็งแกร่งในการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยสู่การมี Owned Channel ที่สมบูรณ์แบบ ภาวุธกล่าว

3. สินค้าจีนคุณภาพดี ถูกกฎหมายเตรียมบุกไทย  : ปี 2025 คาดว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลง 2 เรื่อง คือ การปราบปรามสินค้าผิดกฎหมายของภาครัฐเข้มงวดขึ้น การแข่งขันในประเทศจีนรุนแรง ทำให้สินค้าจีนที่มีคุณภาพหลายราย ขยาย ตลาดต่างประเทศมากขึ้น ไทยเป็นตลาดเป้าหมายสำคัญของจีน จะเห็นสินค้าจีนที่มีคุณภาพ นำเข้าแบบถูกกฎหมาย มาแข่งขันกับผู้ประกอบการไทยมากขึ้น

ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา สินค้าจากจีนที่ไม่ผ่านมาตรฐานทะลักเข้าสู่ไทยเป็นจำนวนมาก 

4. 3C Commerce สร้างความยั่งยืนผ่านคอนเทนต์และคอมมูนิตี้ : การค้าออนไลน์ปัจจุบัน กำลังก้าวสู่เทรนด์ 3C Commerce ประกอบด้วย 1.Content สร้างเนื้อหาน่าสนใจ สร้างการรับรู้และความสนใจในตัวสินค้า 2.Community คอนเทนต์ดีดึงดูดผู้ติดตาม สร้างฐานแฟนคลับ และชุมชนที่ผูกพันกับแบรนด์ 3.Commerce การซื้อขายสินค้า ด้วยความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ค้าและลูกค้า การขายออนไลน์จะเป็นการสร้างประสบการณ์ ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น ขยับไปเป็นดิจิทัลเซอร์วิสมากขึ้น

5. TikTok Commerce การค้าแห่งอนาคต ขยายจากสินค้าสู่บริการ : ปี 2025 TikTok จะเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลเซอร์วิสครบวงจร ผสานคอนเทนต์ คอมมูนิตี้ และคอมเมิร์ซ สมบูรณ์แบบ เป็นช่องทางการตลาดและขายสินค้า ทำให้การแข่งขันในตลาดอีคอมเมิร์ซดุเดือดยิ่งขึ้น  โดย 2 ปีที่ผ่านมา การขายสินค้าผ่าน TikTok เติบโตขึ้นมาก TikTok ลงทุน ขยายตลาดด้าน TikTok Commerce อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ TikTok Shop กำลังก้าวไปเข้าสู่การขายบริการต่าง ๆ เช่น บัตรกำนัลโรงแรมและร้านอาหาร

 

6. Video Commerce ดันยอดขายออนไลน์ผ่านวิดีโอ : Video Commerce จะเป็นเครื่องมือผสานวิดีโอและการขายทำให้เกิดประสบการณ์การช้อปปิ้งที่มีความบันเทิงและดึงดูดใจมากขึ้น สร้างความเชื่อมโยงระหว่างผู้ขายและลูกค้าผ่านคอนเทนต์วิดีโอที่น่าสนใจ

เทรนด์ Video Commerce หรือการขายผ่านวิดีโอ กลายเป็นสนามแข่งขันที่ดุเดือด แพลตฟอร์มวิดีโอต่าง ๆ ปรับตัว ผสานระบบการขายในคอนเทนต์ของตนเอง เช่น การจับมือระหว่าง YouTube กับ Shopee เพื่อใส่ลิงก์ร้านค้า สินค้าในวิดีโอได้โดยตรง Facebook กับ Instagram เริ่มรองรับการใส่สินค้าในวิดีโอ ให้ผู้ชมสามารถกดซื้อสินค้าได้ทันที

 

7. Vertical Commerce การค้าเฉพาะกลุ่มมาแรง : การขายสินค้าในกลุ่มที่มีความสนใจเฉพาะ เช่น สินค้าเด็ก สินค้าสัตว์เลี้ยง สินค้าผู้สูงอายุ สินค้าเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า พบได้บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Line และ Facebook 

8. AI Commerce ขับเคลื่อนอนาคตอีคอมเมิร์ซ : AI หรือปัญญาประดิษฐ์ จะเป็นหัวใจของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ทั้งกระบวนการคิด วิเคราะห์ วางแผนกลยุทธ์ การทำโฆษณา AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ความแม่นยำ การผสาน AI กับธุรกิจอีคอมเมิร์ซจึงเป็นการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ยกระดับประสบการณ์การช้อปปิ้งให้ดียิ่งขึ้น

9. E-Commerce Automation ระบบอัตโนมัติ ยกระดับธุรกิจออนไลน์ : ระบบอัตโนมัติสำหรับอีคอมเมิร์ซ มีบทบาทมากขึ้น ครอบคลุมการบริหารจัดการธุรกิจทั้งหมดผ่านแพลตฟอร์ม เช่น การจัดการออเดอร์ การวิเคราะห์และจัดการข้อมูลลูกค้า การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า ระบบบัญชีออนไลน์ การจัดการขนส่ง การบริหารโฆษณา การตอบกลับอัตโนมัติสำหรับลูกค้า ช่วยให้การทำงานคล่องตัว ลดความซับซ้อนของงาน เพิ่มความรวดเร็วในธุรกิจ

10. E-Commerce Tax มาแน่ ผู้ขายเตรียมปรับราคาสินค้า : กรมสรรพากรประกาศให้อีมาร์เก็ตเพลสที่มียอดขายเกิน 1,000 ล้านบาทต่อปี เช่น Lazada, Shopee, TikTok, Grab, Foodpanda, Line Man ต้องส่งรายได้ของร้านค้าที่ขายผ่านแพลตฟอร์มให้กับกรมสรรพากร

ในปี 2025 กรมสรรพากรจะเห็นตัวเลขยอดขายที่ชัดเจน และเริ่มเก็บภาษีจากผู้ค้า ดังนั้นผู้ค้าในอีมาร์เก็ตเพลสที่เดิมไม่ได้คำนึงถึงภาษี จะต้องปรับโครงสร้างราคาและจัดการภาษีในธุรกิจออนไลน์ของตนเองด้วย

11. Affiliate Marketing ช่องทางการขายที่ไม่ควรมองข้าม : การตลาดแบบ Affiliate Marketing จะเป็นเทรนด์ที่มีบทบาทมากขึ้น แพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Shopee, Lazada, TikTok จะเปิดให้นำสินค้าไปฝาก ตั้งค่าคอมมิชชันกับผู้ที่นำไปขายต่อ ทำให้ KOL และอินฟลูเอนเซอร์ ที่มีฐานลูกค้า นำสินค้าที่มาโปรโมตกับผู้ติดตาม เมื่อเกิดยอดขายก็ได้คอมมิชชัน เกิดการขับเคลื่อนตลาดออนไลน์ เพิ่มโอกาสการขาย ไม่ต้องจ่ายค่าทำการตลาดหรือโฆษณาแพงๆ เพียงจ่ายแค่ค่า Affiliate หรือค่า marketing fee

 12.E-Commerce Listening ผู้ช่วยวิเคราะห์ตลาด :  E-Commerce Listening เป็นเครื่องมือติดตาม วิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นในการขายออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นราคาสินค้าทุกชิ้นในตลาดไทย แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงราคา ข้อมูลสินค้าในหมวดหมู่เดียวกัน ยอดขายและกลยุทธ์ของคู่แข่ง ข้อมูลนี้ช่วยให้ธุรกิจเข้าใจตลาดอย่างลึกซึ้ง กำหนดราคาที่เหมาะสม วางแผนการตลาดได้แม่นยำ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้เป็นอย่างดี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง