29กย-3กย67 ระวังฝนฟ้าคะนองลมกระโชก

วันอาทิตย์ ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2567

การดู : 85

29กย-3กย67 ระวังฝนฟ้าคะนองลมกระโชก

แชร์ :

ปภ.เตือนภัย เหนือ อีสาน กลาง 63 จังหวัด ระวังฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง 

นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศแจ้งว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากสาธารณรัฐประชาชนจีน แผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ประกอบกับร่องมรสุมจะพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีลักษณะอากาศแปรปรวน มีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ และภาคกลาง กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์ฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง ระหว่างวันที่ 29 กันยายน - 3 ตุลาคม 2567 แยกเป็น

ภาคเหนือ ทุกจังหวัด

 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทุกจังหวัด

าคกลาง ทุกจังหวัด

 ภาคใต้ จังหวัดชุมพร

โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ประสาน 63 จังหวัด ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า ให้ประชาสัมพันธ์ประชาชนติดตามสถานการณ์และปฏิบัติตามประกาศแจ้งเตือนภัยอย่างเคร่งครัด รวมถึงเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร อุปกรณ์ เครื่องจักรกลสาธารณภัย ให้สามารถเผชิญเหตุและช่วยเหลือประชาชนได้อย่างรวดเร็ว สำหรับประชาชนขอให้ติดตามข้อมูลสถานการณ์ และปฏิบัติตามประกาศแจ้งเตือนจากทางราชการอย่างเคร่งครัด

ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศแจ้งเตือนสาธารณภัย (EARLY WARNING) เมื่อเวลา 18.00 น.วันที่ 29 กย.67 แจ้งการคาดการณ์สาธารณภัยในระยะ 12 ชั่วโมง

ฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ทางภาคตะวันอรกเฉียงเหนือ จ.หนองคาย  บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร  โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังติดตามข้อมูลข่าวสารและติดตาม สถานการณ์อย่างใกล้ชิด หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ระวังอันตรายจากฟ้าผ่า

ภาวะน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง

ภาคเหนือ :

จ.เชียงใหม่ (อ.เมืองฯ แม่แตง สารภี หางดง สันป่าตอง ดอยหล่อ)

เชียงราย (อ.เมืองฯ เวียงป่าเป้า แม่สรวย แม่ลาว)

ลำพูน (อ.เมืองฯ แม่ทา ป่าซาง บ้านธิ ทุ่งหัวช้าง เวียงหนองล่อง บ้านโฮ่ง)

ลำปาง (อ.เกาะคา สบปราบ เถิน แม่พริก)

แพร่ (อ.เมืองฯ ลอง วังชิ้น สูงเม่น เด่นชัย)

ตาก (อ.สามเงา บ้านตาก)

สุโขทัย (อ.เมืองฯ ศรีสำโรง สวรรคโลก)

พิจิตร (อ.โพธิ์ประทับช้าง)

พิษณุโลก (อ.เมืองฯ บางระกำ พรหมพิราม นครไทย วังทอง บางกระทุ่ม วัดโบสถ์)

เพชรบูรณ์ (อ.ชนแดน ศรีเทพ หล่มเก่า หล่มสัก หนองไผ่)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จ.อุดรธานี (อ.เมืองฯ สร้างคอม) หนองคาย (อ.เมืองฯ ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย)

ชัยภูมิ (อ.เมืองฯ คอนสวรรค์ จัตุรัส)

ขอนแก่น (อ.ชุมแพ) มหาสารคาม (อ.เมืองฯ โกสุมพิสัย กันทรวิชัย เชียงยืน) ร้อยเอ็ด (อ.จังหาร)

อุบลราชธานี (อ.เมืองฯ เขมราฐ โพธิ์ไทร นาตาล โขงเจียม สว่างวีระวงศ์)

ภาคกลาง

จ.อ่างทอง (อ.ป่าโมก วิเศษชัยชาญ)

สุพรรณบุรี (อ.เมืองฯ)

พระนครศรีอยุธยา (อ.เสนา บางบาล ผักไห่ บางปะอิน พระนครศรีอยุธยา บางไทร)

นครปฐม (อ.บางเลน)

ปราจีนบุรี (อ.เมืองฯ กบินทร์บุรี ประจันตคาม ศรีมหาโพธิ)

ภาคใต้ จ.ยะลา (อ.ยะหา)

 

น้ำทะเลหนุนสูงบริเวณปากแม่น้ำ และพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง

ภาคกลาง จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร

ภาคใต้ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

โดยให้เฝ้าระวังติดตามข้อมูลข่าวสารติดตาม สถานการณ์อย่างใกล้ชิด

ระวังผลกระทบจากระดับน้ำทะเลหนุนสูง

 

ฝนฟ้าคะนอง :

ภาคเหนือ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และอุทัยธานี

ภาคกลาง จ.กาญจนบุรี ราชบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร

ภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่

 

กรมชลประทานรายงานสถานการ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา วันที่29 ก.ย.67 เวลา 07.00 น. ที่สถานี C2 อ.เมืองนครสวรรค์ ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,938 ลบ.ม./วินาที

แนวโน้ม : เพิ่มขึ้น  ที่สถานี C13 เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,899 ลบ.ม/วินาที แนวโน้ม ทรงตัว ระดับน้ำท้ายเขื่อน ต่ำกว่าตลิ่ง 2.15 ม.

รายงานแจ้งว่า ทางตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยายังมีฝนตก ส่งผลให้มีน้ำสะสมไหลลงสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้น กรมชลประทาน ทยอยเพิ่มการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำทางตอนบนและฝนที่ตก อาจกระทบกับริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา/แม่น้ำน้อย รวมทั้งพื้นที่เสี่ยงบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ คลองโผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ต.หัวเวียง อ.เสนา , ต.ลาดชิด , ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ. พระนครศรีอยุธยา (แม่น้ำน้อย)

สาเหตุน้ำท่วมโคลนถล่มแม่สาย

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) ได้เผยแพร่ภาพดาวเทียม พร้อมคำบรรยายว่าจากภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูง บันทึกเมื่อวันที่ 13 กย.67 ใกล้ชายแดนประเทศเมียนมา ในเขตอ.แม่สาย ซึ่งเป็นส่วนเล็กๆของพื้นที่รับน้ำทั้งหมดของแม่น้ำสายมีดินถล่มหลายจุดเป็นสีน้ำตาลแดง ตัดกับสีเขียวของป่าไม้หรือแปลงเกษตรเห็นได้ชัด  แต่ละร่องรอยกว้างประมาณ 20 – 30 เมตร เทียบเท่าถนนขนาด 4 เลน ยาวหลายสิบเมตรถึงหลายร้อยเมตร แตกต่างกันไปตามลักษณะพื้นที่ สะท้อนให้เห็นถึงสาเหตุของตะกอนดินโคลนจำนวนมากที่ไหลทับถมในพื้นที่ด้านล่าง

          คำบรรยายของ GISTDA กล่าวถึงการถอดบทเรียนว่าข้อมูลภูมิสารสนเทศทำให้รู้ว่ามีอีกหลายหมู่บ้านในประเทศไทย ที่เสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติแบบเดียวกับที่แม่สาย การตระหนักรับรู้ความเสี่ยงในพื้นที่ของตนและปรับตัวเป็นสิ่งสำคัญที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง