วช.จัดเต็มโดรนเกษตรชุดใหญ่ศูนย์เรียนรู้ จ.บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์
วันอาทิตย์ ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2568
การดู : 160

แชร์ :
วช. เปิดศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อการเกษตร 2 จังหวัดอีสาน บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ ใช้โดรนขนาดใหญ่มีเรดาร์ป้องกันการชน หว่านเมล็ดและยาฆ่าแมลงได้ ให้บริการกระบวนการเพาะปลูก ฉีดพ่นสารเคมี ตรวจสอบพื้นที่ปลูกและจัดอบรมตตั้งแต่ขั้นการประกอบจนถึงใช้งานโดรนการเกษตรเป็นครั้งแรก บุรีรัมย์ รุดหน้ากว่า ฝึกไปแล้ว 50 คน
สำนักงานสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ วิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์ สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ เปิดศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อการเกษตร 2 แห่ง ที่ จบุรีรัมย์ และกาฬสินธุ์ มี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผอ.วช. เป็นประธานในพิธีเปิด ในระหว่างวันที่ 18-19 กพ68
ดร.วิภารัตน์ กล่าวระหว่างการเปิดศนย์แห่งแรกที่ จ.บุรีรัมย์ว่า วช. สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการใช้โดรนเพื่อการเกษตรในพื้นที่ การถ่ายทอดองค์ความรู้การประกอบโดรนให้เจ้าหน้าที่และเกษตรกร ยกระดับความสามารถของเกษตรกรส่งเสริมการทำเกษตรในพื้นที่ การพัฒนาซอฟต์แวร์โดรนเป็นกุญแจสำคัญของการบินอัตโนมัติ ผสมผสานเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลและการสื่อสารเข้าด้วยกัน ทำให้โดรนแก้ไขปัญหาในการทำงานในด้านต่าง ๆ ของภาคเกษตรกรในด้านพื้นที่ ความรวดเร็ว ความปลอดภัย และประสิทธิภาพการผลิต ยกระดับประสิทธิภาพการเกษตรของจ.พื้นที่บุรีรัมย์
นายสิทธิชนม์ คำแปล ผอ.วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ กล่าวว่า ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ จะเป็นต้นแบบในการพัฒนาเทคโนโลยีการบินโดรนเพื่อการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเป้าหมายส่งเสริมให้เกษตรกรนำโดรนไปใช้ในกระบวนการเพาะปลูก ฉีดพ่นสารเคมี ตรวจสอบพื้นที่เพาะปลูกอย่างมีประสิทธิภาพ ได้จัดอบรมการประกอบและใช้งานโดรนเพื่อการเกษตรครั้งแรก เมื่อวันที่ 26 - 27 กย.67 มีเกษตรกรและบุคลากรจากวิทยาลัยเข้าร่วม 50 คน ผลิตนักบินโดรนในพื้นที่ ในศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อการเกษตรมีอุปกรณ์การขยายโอกาสความรู้และการทำงาน ได้แก่ โดรนเพื่อการเกษตรแบบ 6 ใบพัด น้ำหนักบรรทุก 30 กิโลกรัม 2 ลำ แบตเตอรี่ 4 ก้อน เครื่องชาร์จแบตเตอรี่โดรน 2 เครื่อง เครื่องปั่นไฟเบนซินกำลังไฟ 9 กิโลวัตต์ ที่
นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล หัวหน้าโครงการ กล่าวว่า โครงการศึกษาประยุกต์ใช้โดรนเพื่อการเกษตรในพื้นที่ต้นแบบ ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นำเทคโนโลยีโดรนไปใช้ประโยชน์กับเกษตรกร ในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เป็นการบูรณาการร่วมกันหลายภาคส่วน การก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อการเกษตรในพื้นที่ต้นแบบ ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ เป็นการดำเนินการครบวงจร ทำหลักสูตรการอบรม การประกอบโดรน การฝึกบินโดรน การลงพื้นที่เพื่อฝึกให้บินโดรนในแปลงเกษตรจริง ใช้โดรนขนาดใหญ่มีเรดาร์ป้องกันการชน เพิ่มฟังก์ชันใส่ถังหว่านเมล็ดและยาฆ่าแมลงต่าง ๆ การใช้โดรนบริการพ่นสารเคมียาฆ่าแมลงให้กับเกษตรกร ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาเกษตรกรรมสู่ความยั่งยืนในอนาคต
ต่อมาคณะของ วช. เดินทางไปเปิดศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อการเกษตร ต้นแบบ ที่วิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ ดร.วิภารัตน์กล่าวว่า การเปิดศูนย์การเรียนรู้ เป็นการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีใหม่ในการเกษตร สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน การแลกเปลี่ยนความรู้และการฝึกอบรมเกษตรกร เสริมสร้างทักษะการใช้งานโดรนอย่างถูกต้องและปลอดภัย เปิดโอกาสให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยีทันสมัย
นายนพดล จอมเพชร รอง ผวจ.กาฬสินธุ์ กล่าว ศูนย์บริการโดรนเพื่อการเกษตรแห่งนี้ถือเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น ช่วยให้เกษตรกรนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้กับแปลงเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ลดต้นทุนและเพิ่มความยั่งยืนในการทำการเกษตรในพื้นที่
นายประดิษฐ์ ญาณประเสริฐ ผอ.วิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ศูนย์บริการโดรนเพื่อการเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.กาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์ส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษานำกระบวนการวิจัยบูรณาการกับการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ ๆ ยังเปิดโอกาสให้นักเรียนนักศึกษาได้นำเสนอผลงานของตนเอง เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ ดำเนินการประเมินผลรายวิชาโครงการ ช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวสู่ครัวเรือนและภาคเกษตรกรรมของผู้ปกครองนักเรียนนักศึกษา เป็นต้นแบบการใช้งานโดรนเพื่อการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์ ได้รับมอบนวัตกรรมโดรนเพื่อการเกษตร 3 ลำ ใช้ในการศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเรียนการสอนและการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรในอนาคต
นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล หัวหน้าโครงการ กล่าวว่า ศูนย์บริการฯ จะอบรมการฝึกบินโดรนในพื้นที่ การลงพื้นที่เพื่อฝึกปฏิบัติในพื้นที่จริง ด้วยโดรนขนาดใหญ่มีเรดาร์ป้องกันการชน เพิ่มฟังก์ชันใส่ถังในการหว่านเมล็ดและยาฆ่าแมลงต่าง ๆ และการบริการให้กับเกษตรกรในการพ่นสารเคมียาฆ่าแมลงโดยใช้โดรน ซึ่งช่วยลดระยะเวลาและแรงงานในกระบวนการผลิต ช่วยให้เกษตรกรปรับใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมนับเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาเกษตรกรรมสู่ความยั่งยืนในอนาคต
การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อการเกษตรต้นแบบแรกของจ.กาฬสินธุ์ เป็นก้าวสำคัญในการนำเทคโนโลยีมาผสานกับภาคการเกษตร เพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และขับเคลื่อนเกษตรกรรมไทยสู่อนาคตอย่างมั่นคงและยั่งยืน
ข่าวอัพเดท

เจาะลึกเทคโนฯนวัตกรรม ววน. รับภัยพิบัติในอนาคต
วันอังคาร ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2568

วิจัยพบกรุงเทพฯอยู่ในวงล้อม3แหล่งแผ่นดินไหว
วันอาทิตย์ ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2568

ชี้3จุดสังเกตตึกถล่มเผชิญคลื่นแผ่นดินไหวดันดินอ่อน
วันเสาร์ ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2568

2 ช่องทางขอตรวจอาคารแผ่นดินไหว กทม. – กรมโยธา
วันศุกร์ ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568

นายกสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยฯ ร่วมยินดี 61 ปีเดลินิวส์
วันศุกร์ ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568

เทคโนโลยีดิจิทัลพัฒนามาตรวิทยารังสีเพื่อความปลอดภัย
วันพฤหัส ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2568
