สถานการณ์น้ำล่าสุดเสี่ยงหลายจุด3-7กยระวังท่วมฉับพลัน
วันจันทร์ ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2567
การดู : 136

แชร์ :
สถานการณ์น้ำ อุตุ แจ้ง ฝนหนักถึงหนักมาก 3-7 กย.67 ระวังท่วมฉับพลันน้ำป่าหลาก เหนือเสี่ยงซ้ำ จ.พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก รอบ 24ชม.ที่ผ่านมา จ.อุบลฯฝนมาก 160 มม. คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ รายงานน้ำล้นตลิ่ง มาถึง จ.พิษณุโลกแล้ว สนทช.เตือนทุกหน่วยระวังอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กที่ปริมาณเกิน80% ระวังล้นกระทบท้ายน้ำ
กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทยและคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน ฉบับที่ 2 (157/2567) มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 3-7 กันยายน 2567 ความว่า ช่วงวันที่ 3-7 ก.ย. 67 ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น มีฝนตกหนักหลายพื้นที่ ตกหนักมากบางพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้
ประกาศแจ้งให้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม
ตามประกาศ อ้างสาเหตุฝนตกหนักว่า เนื่องจากร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น จ.ที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในวันที่ 3 กย.67 ได้แก่
ภาคเหนือ: จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จ.เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมินครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี |
ภาคกลาง: จ.กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล |
ภาคตะวันออก: จ.นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด |
ภาคใต้: จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ |
รายงานจาก คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ <ww.thaiwater.net> แจ้งสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง เมื่อเวลา 9.40 น.วันที่ 2 กย 67 ดังนี้
สถานีสะพานบ้านเจดีย์งาม... |
ต.ท่าวังทอง อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา |
388.39 |
สถานีชุมแสงสงคราม |
ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก |
41.92 |
สถานีสะพานบ้านต๋ำ |
ต.บ้านต๊ำ อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา |
392.96 |
สถานีแม่น้ำยม |
ต.บางระกำ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก |
39.68 |
สถานีแม่น้ำยม |
ต.บางระกำ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก |
39.60 |
สถานีท้ายกว๊านพะเยา |
ต.เวียง อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา |
392.99 |
สถานีนครไทย |
ต.นครไทย อ.นครไทย จ.พิษณุโลก |
201.58 |
ส่วนรายงานฝนในรอบ 24 ชม. ที่ตกเกิน 100 มม. มีดังนี้ สถานีอ.บุณฑริก จ.อุบลราชธานี 159.5 มม. สถานีลำเซบก อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี 124 มม. สถานีคลองพระพิมล (ไทรน้อยอ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี 105.2 มม.สถานีอุบลราชธานี สกษ. ต.ท่าช้าง จ.อุบลราชธานี 103.5 มม.
นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการ ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) ได้ลงนามออกประกาศ ฉบับที่ 13/2567 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ใจความ สทนช. ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศพบ ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มี กำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ สทนช. ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำตามฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา และ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่ม บริเวณพื้นที่ต้นน้ำ จากกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณี พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ในช่วง วันที่ 3-9 กย.67
ใจความตอนหนึ่ง ให้เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ โดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยา จะมีน้ำหลากจากตอนบนของลุ่มน้ำไหลผ่าน เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท แนวโน้มเพิ่มขึ้นตามปริมาณน้ำหลากที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ระดับน้ำ เพิ่มขึ้นบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ คลองโผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และแม่น้ำน้อย ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา
ส่วนแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาอื่น ได้แก่ แม่น้ำยม (อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก) แม่น้ำแควน้อย (อ.นครไทย และวัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก) แม่น้ำจันทบุรี (อ.เมืองจันทบุรี และมะขาม) แม่น้ำตราด (อ.เมืองตราด เขาสมิง และบ่อไร่ จ.ตราด)
ตามประกาศ ยังให้เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเลิกทีมีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จ.เชียงใหม่ พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ อุทัยธานี เลย หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู ขอนแก่น นครพนม มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี ตรัง และอ่างเก็บน้ำที่มีสถิติปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากกว่าความจุเก็บกัก มีความเสี่ยงน้ำล้นอ่างฯ และส่งผลกระทบให้น้ำท่วมบริเวณด้านท้ายน้ำ
ส่วนพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่มที่ต้องเฝ้าระวัง ในช่วง วันที่ 3-9 กย.67 ได้แก่
ภาคเหนือ
จ.ตาก (อ.ท่าสองยาง แม่สอด พบพระ อุ้มผาง)
จ.สุโขทัย (อ.เมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย ทุ่งเสลี่ยม กงไกรลาศ)
จ.อุตรดิตถ์ (อ.เมืองอุตรดิตถ์ ฟากท่า น้ำปาด ตรอน)
จ.พิษณุโลก (อ.ชาติตระการ นครไทย วัดโบสถ์ วังทอง เนินมะปราง)
จ.เพชรบูรณ์ (อ.เมืองเพชรบูรณ์ หนองไผ่ หล่มเก่า หล่มสัก)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จ.เลย (อ.นาแห้ว เชียงคาน ด่านซ้าย ปากชม)
จ.หนองคาย (อ.เมืองหนองคาย สังคม ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย โพธิ์ตาก)
จ.บึงกาฬ (อ.เมืองบึงกาฬ ปากคาด บุ่งคล้า โซ่พิสัย เซกา บึงโขงหลง)
จ.อุบลราชธานี (อ.เมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ ตาลสุม น้ำยืน พิบูลมังสาหาร น้ำขุ่น)
ภาคตะวันออก
จ.นครนายก (อ.เมืองนครนายก ปากพลี บ้านนา)
จ.ปราจีนบุรี (อ.เมืองปราจีนบุรี ประจันตคาม นาดี กบินทร์บุรี)
จ.ชลบุรี (อ.เมืองชลบุรี บางละมุงศรีราชา)
จ.ระยอง (อ.เมืองระยอง บ้านค่าย ปลวกแดง นิคมพัฒนา)
จ.จันทบุรี (อ.เมืองจันทบุรี ขลุง ท่าใหม่ เขาคิชฌกูฎ มะขาม)
จ.ตราด (อ.เมืองตราด บ่อไร่ เขาสมิง แหลมงอบ คลองใหญ่ เกาะกูด)
ภาคใต้
จ.ชุมพร (อ.ท่าแซะ สวี)
จ.ระนอง (อ.เมืองระนอง กระบุรี ละอุ่น กะเปอร์ สุขสำราญ)
จ.พังงา (อ.เมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง ท้ายเหมือง)
จ.ภูเก็ต (อ.เมืองภูเก็ต กะทู้ ถลาง)
จ.สุราษฎร์ธานี (อ.เมืองสุราษฎร์ธานี คีรีรัฐนิคม พุนพิน พระแสง เวียงสระ)
จ.นครศรีธรรมราช (อ.เมืองนครศรีธรรมราช เชียรใหญ่ ลานสกา ถ้ำพรรณรา ทุ่งใหญ่)
จ.ตรัง (อ.เมืองตรัง สิเกา ย่านตาขาว กันตัง ห้วยยอด รัษฎา วังวิเศษ)
จ.พัทลุง (อ.เมืองพัทลุง ปากพะยูน กงหรา ศรีนครินทร์ ควนขนุน)
จ.สตูล (อ.เมืองสตูล ควนโดน ควนกาหลง ทุ่งหว้า มะนัง)
รายงานจากสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) แสดงผังติดตามสถานการณ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ล่าสุดวันที่ 2 กย.67 ระดับน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ระดับ 1,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เทียบเคียงกับวันเดียวกันของปี 2554 ระดับถึงประมาณ 2,000 ลบ.ม./วิ. โดยลำน้ำมีความจุ 2,840 ลบ.ม./วิ.
ข่าวอัพเดท

มจธ. แนะตรวจอาคารเบื้องต้น ลดเสี่ยงระยะยาว
วันพฤหัส ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2568

มทร.ธัญบุรี นำ9 ราชมงคลร่วมใจ สืบสานวัฒนธรรมไทย
วันพุธ ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2568

เจาะลึกเทคโนฯนวัตกรรม ววน. รับภัยพิบัติในอนาคต
วันอังคาร ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2568

วิจัยพบกรุงเทพฯอยู่ในวงล้อม3แหล่งแผ่นดินไหว
วันอาทิตย์ ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2568
