จุลินทรีย์ไทยกำจัดคราบน้ำมันทัพเรือไทย
วันจันทร์ ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
การดู : 176

แชร์ :
ทัพเรือร่วมกับ ไบโอเทค ทำความตกลงร่วมมือพัฒนาเทคโนโลยีกำจัดน้ำทิ้งปนเปื้อนน้ำมัน เลือกจุลินทรีย์สัญชาติไทยที่มีต่อยอดใช้กับพื้นที่กองทัพ มุ่งสู่จุดหมายGreen Navy
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)ร่วมกับ กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ กองทัพเรือ ลงนามบันทึกความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อเร็วๆนี้ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมการกำจัดน้ำทิ้งที่มีน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นปนเปื้อน โดยค้นหา พัฒนาจุลินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายน้ำมัน สารประกอบน้ำมันปิโตรเลียม กำจัดน้ำเสียจากเรือและพื้นที่ของกองทัพเรือ สร้างองค์ความรู้ พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้หน่วยงานในกองทัพเรือนำไปใช้ สนับสนุนนโยบายกองทัพเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Navy) โดย พลเรือตรี กริช ขันธอุบล เจ้ากรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ และศ. ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผอ. สวทช. ลงนาม ที่ห้องวุฒิไชยเฉลิมลาภ อาคารราชนาวิกสภา กรุงเทพฯ
ไบโอเทค มีผลงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมจากกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอรีไฟเนอรีและชีวภัณฑ์หลายผลงาน ได้แก่ “Tidy Bio Plus “ (ไทดี้ ไบโอ พลัส) หัวเชื้อจุลินทรีย์ มีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดของเสีย จุดเด่นนวัตกรรม เป็นการคัดเลือกจากเชื้อจุลินทรีย์สัญชาติไทย ทำให้ผลิตภัณฑ์มีเสถียรภาพ มีประสิทธิภาพสูง เข้ากันกับสิ่งแวดล้อมในประเทศได้ดี มี เอนไซม์ ENZease (เอนอีซ) สำหรับลอกแป้ง กำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้ายแบบขั้นตอนเดียว “เอนไซม์ Serizyme” (เซริไซม์) ที่จำเพาะต่อการลอกกาวไหมสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตผ้าไหม ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพและความงามที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม “Cotton Pro” (คอตตอนโปร) มัลติเอนไซม์ สำหรับกระบวนการผลิตสำลีขาวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ “RETTizyme”(เรตติไซม์) มัลติเอนไซม์ สำหรับกระบวนการแช่หมักเส้นใยจากใบสับปะรด
มีผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่นำมาต่อยอดในแผนงาน Green Navy เพื่อกำจัดคราบน้ำมันและน้ำทิ้งที่มีน้ำมันปนเปื้อน ได้แก่ สารลดแรงตึงผิวชีวภาพจากยีสต์ MEL Biosurfactant สารซักล้างชีวภาพ MES-Green ที่สังเคราะห์จากน้ำมันพืชและกรดไขมันเหลือใช้ โดยจะศึกษาความเป็นไปได้ในการนำผลิตภัณฑ์เหล่านี้มาประยุกต์ใช้ ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของนวัตกรรมที่จะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้
พลเรือตรี กริช ขันธอุบล เจ้ากรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างกรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ และ สวทช. เป็นก้าวสำคัญในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นต้นแบบการดำเนินงานที่ยั่งยืน ผลักดันให้กองทัพเรือเป็นองค์กรที่ดำเนินงานด้านความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้นแบบแก่หน่วยงานอื่น ๆ นำไปปฏิบัติม สอดคล้องกับนโยบายของผู้บัญชาการทหารเรือ ในการส่งเสริมการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมทางการทหารด้วย
แนวทางพัฒนากองทัพเรือของผู้บัญชาการทหารเรือ ให้ความสำคัญด้านความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กำหนดให้การจัดการสิ่งแวดล้อมกองทัพเรือ (Green Navy) เป็นหนึ่งในแนวทางการบริหารกองทัพเรือเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อรองรับยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พ.ศ. 2560 - 2580 ต้องจัดการสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านการใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทนรูปแบบต่าง ๆ การจัดการขยะ การลดมลพิษ สู่เป้าหมายการจัดการสิ่งแวดล้อมกองทัพเรือ พ.ศ. 2580
ศ. ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผอ. สวทช. กล่าวว่ากลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอรีไฟเนอรีและชีวภัณฑ์ ไบโอเทค-สวทช. ได้วิจัยค้นหา คัดแยกเชื้อจุลินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายน้ำมัน สารประกอบน้ำมันปิโตรเลียม โดยกรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ ประสานงานให้เข้าไปเก็บตัวอย่างน้ำที่ปนเปื้อนคราบน้ำมันจากห้องเครื่องบนเรือรบ และตัวอย่างตะกอนดินจากพื้นที่ต่าง ๆ ของกองทัพเรือ นำมาทดลองคัดแยกเชื้อจุลินทรีย์ เบื้องต้นคัดแยกเชื้อจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายน้ำมันได้จำนวนหนึ่ง มีแนวโน้มที่จะใช้พัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนนโยบาย Green Navy ได้ การดำเนินงานต่อไป จะศึกษาวิจัยพัฒนาตัวจุลินทรีย์เพิ่มเติมด้วยเทคโนโลยีฐานที่กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอรีไฟเนอรีและชีวภัณฑ์พัฒนาขึ้น ร่วมกับการศึกษาวิเคราะห์ตัวอย่างทางกายภาพและเคมี โดยร่วมมือกับห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ของกรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ
ข่าวอัพเดท

เจาะลึกเทคโนฯนวัตกรรม ววน. รับภัยพิบัติในอนาคต
วันอังคาร ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2568

วิจัยพบกรุงเทพฯอยู่ในวงล้อม3แหล่งแผ่นดินไหว
วันอาทิตย์ ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2568

ชี้3จุดสังเกตตึกถล่มเผชิญคลื่นแผ่นดินไหวดันดินอ่อน
วันเสาร์ ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2568

2 ช่องทางขอตรวจอาคารแผ่นดินไหว กทม. – กรมโยธา
วันศุกร์ ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568

นายกสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยฯ ร่วมยินดี 61 ปีเดลินิวส์
วันศุกร์ ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568

เทคโนโลยีดิจิทัลพัฒนามาตรวิทยารังสีเพื่อความปลอดภัย
วันพฤหัส ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2568
