มรภ.อุตรดิตถ์ ดันข้อต่อใหม่ บ.มะขามสามเกลอสู่ตลาดมูลค่าสูง

วันจันทร์ ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2568

การดู : 21

มรภ.อุตรดิตถ์ ดันข้อต่อใหม่ บ.มะขามสามเกลอสู่ตลาดมูลค่าสูง

แชร์ :

เผยงานวิจัย มรภ.อุตรดิตถ์ ทุนบพท.สร้างชีวิตใหม่ ฟื้นวิสาหกิจมะขามน้ำปาด ฟากท่า จากขายเหมาพ่อค้าราคาต่ำ แกะเมล็ดขายโอทอป กก.ละ 80 บาท ทำมะขามไร้เมล็ด กก.ละ 500 มะขามพอดีคำ กก.ละ 400  เพิ่มมูลค่า 7.7 เท่า เศษมะขามยังแปรรูปเป็นท๊อฟฟี่ ทำไส้พายมะขาม

 

มะขาม คนส่วนมากนึกถึงจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นอันดับแรก แต่จริง ๆ แล้วมะขามมีการปลูกอยู่ทั่วประเทศ

นางกมลรัตน์ ท้าวน้อย ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลไม้แปรรูปบ้านเสี้ยว อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า จังหวัดอุตรดิตถ์มีแหล่งปลูกมะขามคุณภาพพื้นที่ปลูกมะขามรวมกันกว่า 20,000 ไร่ ในอำเภอฟากท่า อำเภอบ้านโคก และอำเภอน้ำปาด ปัญหาคือไม่สามารถการันตีราคาได้ จึงรวมกลุ่มช่วยเหลือเกษตรกรในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน รับซื้อมะขามมาจำหน่ายและแปรรูปเป็นมะขามคลุกแบบง่าย ๆ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลช่วยประชาสัมพันธ์ว่ากลุ่มมีการประกันราคารับซื้อไม่ต่ำกว่า 80 บาทต่อกิโลกรัม สูงกว่าพ่อค้าคนกลางที่มาซื้อเหมาสวน

กลุ่มได้พยายามนำมะขามอุตรดิตถ์ไปเปิดตัวในงาน OTOP จังหวัดต่าง ๆ เสมอ แต่ก็ยังไม่ประสบผล ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เข้ามาสร้างจุดเปลี่ยน จุดประกายให้รู้จักตลาดมะขามใหม่ ๆ ที่กว้างกว่าเดิม ชวนทำมะขามไร้เมล็ด จากเคยขายมะขามฝักกิโลกรัมละ 80-90 บาท เมื่อกรีดเมล็ดออก ก็เพิ่มมูลค่าขายได้ในราคากิโลกรัมละ 500 บาท เป็นก้าวที่สำคัญต่อความเปลี่ยนแปลงของกลุ่ม 

ผศ.ดร.ดุษฎี บุญธรรม หัวหน้าโครงการเพิ่มขีดความสามารถการประกอบการของเครือข่ายธุรกิจมะขามสามเกลอให้เข้มแข็งบนฐานการผลิตโดยชุมชนเพื่อชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า การลงพื้นที่วิจัยจังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่าผู้ประกอบการแปรรูปมะขามมีออร์เดอร์จำนวนมาก แต่กำลังการผลิตไม่เพียงพอ จึงรับออร์เดอร์เพิ่มไม่ได้   เกษตรกรผู้ปลูกก็ไม่รู้จะขายให้ใคร ไม่รู้จะขายอย่างไร ต้องยอมขายให้พ่อค้าคนกลางแม้จะถูกกดราคา เรื่องเร่งด่วนที่คณะวิจัยมองเห็นคือ การเพิ่มมูลค่าให้กับคนทำมะขามในห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมด ได้แก่ ผู้ปลูก ผู้รวบรวม และผู้แปรรูป โดยใช้กลยุทธ์ 3 ข้อ คือ 1. หาตลาดใหม่ที่มีมูลค่าสูง 2. พัฒนาคนหรือศักยภาพของผู้ประกอบการ  3. เชื่อมโยงเครือข่ายกลุ่มธุรกิจชุมชน เชิญผู้ประกอบการจากจังหวัดอุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และเลย ให้มาพบเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายผู้ประกอบการที่ทำมะขามเพื่อเชื่อมโยงวัตถุดิบด้วยกัน

กุญแจสำคัญคือ ทำให้ชุมชนเห็นคุณค่าของมะขามธรรมดา ที่ผ่านมามุ่งแต่จะคัดมะขามฝักยาวสวยกรีดเมล็ดออกขายกิโลกรัมละ 500 บาท เพราะเป็นHero Product แต่นักวิจัยทำให้เห็นช่องทางสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับมะขามตกเกรด มะขามหวานข้อ หรือมะขามเปรี้ยวที่ชุมชนมองข้าม เช่นมะขามหวานข้อ ชุมชนขายกิโลกรัมละ 50 บาท หรือทำมะขามคลุก เปลี่ยนมากรีดขายเป็นมะขามไร้เมล็ดหรือมะขามพอดีคำ ขายได้กิโลกรัมละ 400 บาท เพิ่มมูลค่าได้ถึง 7.7 เท่า เศษมะขามที่เหลือจากการคัดเกรด ก็แปรรูปเพิ่มมูลค่าเป็นท๊อฟฟี่มะขาม มะขามสามรส มะขามคลุกบ๊วย ทำเป็นไส้ของพายมะขาม เรียกว่าใช้ประโยชน์ เพิ่มมูลค่าให้มะขามทุกประเภท ไม่มีส่วนใดเหลือทิ้ง หรือไม่มีราคา

ปัญหาของผู้ประกอบการกลุ่มนี้ คือไม่มีแรงงาน ทีมวิจัยเคยนำเครื่องกรีดมะขามไปให้ใช้ แต่ยังไม่ตอบโจทย์คุณภาพและความประณีตเท่าการใช้มือ จึงปรับกลยุทธ์มาเป็นการพัฒนาคน ชวนผู้สูงอายุ ลูกหลาน หรือคนว่างงานในชุมชนมาสอนเทคนิคคัดแยกประเภท สอนกรีดมะขามให้ได้ตามมาตรฐาน ทำให้มีแรงงานผลิตมะขามไร้เมล็ดเพิ่มขึ้น เกิดการจ้างงานในชุมชนเพิ่มอีกหลายอัตรา เริ่มมีคนรุ่นใหม่กลับมาอยู่ในชุมชน รับมะขามจากกลุ่มไปกรีดที่บ้านจำหน่ายด้วยแบรนด์ของตัวเองก็มี

ผศ. ดร.ดุษฎี กล่าวอีกว่า มะขามหวานข้อที่ตกเกรดด้อยคุณภาพและมะขามเปรี้ยวที่ชุมชนมองข้าม จากเดิมขายเหมาสวนกิโลกรัมละ 8-10 บาท ทีมวิจัยชวนผู้ประกอบการพัฒนาต่อยอดทำเนื้อมะขามเข้มข้น เปิดตลาดผลิตภัณฑ์มะขามใหม่ในระดับอุตสาหกรรมมูลค่าสูงขึ้น มีอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์ไม่น้อยที่ต้องการเนื้อมะขามเข้มข้นเป็นส่วนประกอบ แต่พบปัญหาการเชื่อมต่อผลิตภัณฑ์จากชุมชนและภาคอุตสาหกรรมยังมีช่องว่าง เนื่องจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มักจะไม่ยอมรับผลิตภัณฑ์จากชุมชน เนื่องจากกังวลเรื่องคุณภาพ

ทีมวิจัยจัดตั้งบริษัท Startup ชื่อบริษัทมะขามสามเกลอ เป็นข้อต่อรวบรวมสินค้าจากกลุ่มธุรกิจในชุมชน เชื่อมต่อกับตลาดนอกพื้นที่ มีเป้าหมายสร้างการเติบโตจากฐานรากอย่างทั่วถึง (Bottom-up to Inclusive Growth) เชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการในพื้นที่ ผ่านห่วงโซ่คุณค่ามะขามที่ยึดหลักการค้าเป็นธรรม (Fair Trade)ทีมวิจัยใช้ความรู้ เทคโนโลยี และวิชาการเข้าสนับสนุนคุณค่าของผลิตภัณฑ์จากชุมชน พัฒนาสูตรและทดลองให้ได้คุณภาพ พัฒนาผลิตภัณฑ์แบบ Made to Order ตามความต้องการของตลาด เป็นการยืนยันคุณภาพและสร้างความเชื่อมั่นจากธุรกิจตลาดภายนอกที่มีต่อชุมชนด้วย

ปัจจุบัน บริษัทมะขามสามเกลอ เชื่อมโยงตลาดเข้ากับธุรกิจ SMEs ขนาดย่อมได้แล้วหลายแห่ง มีผลิตภัณฑ์มะขามเข้มข้นเป็นตัวเบิกนำ จุดเด่นมะขามเข้มข้นของบริษัทมะขามสามเกลอ ใช้เนื้อมะขามทั้งหมดโดยไม่คั้นแยกกาก ทางกลุ่มวิสาหกิจเองก็ได้ขยายผลนำสูตรมะขามเข้มข้นจากงานวิจัยนี้ไปพัฒนาต่อภายใต้แบรนด์ของตนเอง และกำลังเข้าสู่ขั้นตอนการขอรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)  โดยราคาของมะขามเข้มข้น กิโลกรัมละ 120 บาท เป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้น 13.3 เท่า จากราคาขายเหมาสวน

นางกมลรัตน์ กล่าวว่า ตั้งแต่งานวิจัยนี้เข้ามา  ความเป็นอยู่ของคนในชุมชนดีขึ้น ผู้สูงอายุก็มาทำงานรับจ้างคัดแยก ปอก หรือกรีดมะขาม โดยคนรับจ้างกรีดมะขามข้อสั้นข้อยาวเฉลี่ยมีรายได้วันละ 200-600 บาท ขึ้นอยู่กับหน้าที่และความขยัน และมีรายได้ทุกวัน เกษตรกรเจ้าของสวนจากเคยขายเหมาสวนได้เดือนละ 20,000 บาท เมื่อนำมาขายให้กลุ่มเรา รายได้ก็เพิ่มเป็น 50,000 – 60,000 บาท ต่อเดือน

          ทีมวิจัยพัฒนาการเป็นนักขายชุมชนให้เราซึ่งได้ผล เราทำตลาดออนไลน์เกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ ผ่าน Facebook page ชื่อ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมะขามหวานธรรมชาติ (กมลรัตน์ มะขามหวานบ้านเสี้ยว) มีทั้งลูกค้าที่สั่งไปทานเอง และซื้อไปขายต่อ เฉลี่ยใน 1 เดือน กลุ่มมียอดขาย 500,000 – 600,000 บาท และกำลังต่อยอดลานรับซื้อ เนื่องจากยังมีผลไม้คุณภาพอื่น ๆ อีกมาก ที่ไม่สามารถประกันราคาได้ เป้าหมายต่อไปจึงเป็นการสร้างความมั่นคงให้กลุ่มธุรกิจชุมชน เพื่อให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่เพิ่มขึ้น

 

#หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ #บพท. #มะขามหวานข้อ #มะขามไร้เมล็ด #มะขามสามเกลอ #Startup

 

 

 

 

 

ข่าวอัพเดท

สวทช. โชว์แพลตฟอร์ม LEAD EducationสอนAIได้ผล

สวทช. โชว์แพลตฟอร์ม LEAD EducationสอนAIได้ผล

วันจันทร์ ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2568

มรภ.อุตรดิตถ์ ดันข้อต่อใหม่ บ.มะขามสามเกลอสู่ตลาดมูลค่าสูง

มรภ.อุตรดิตถ์ ดันข้อต่อใหม่ บ.มะขามสามเกลอสู่ตลาดมูลค่าสูง

วันจันทร์ ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2568

เซ็นทรัล หาดใหญ่ จัดงาน “Hatyai Pride for All” ฉลองเดือนแห่งความเท่าเทียม เปิดโอกาสให้ทุกเพศสภาพแสดงออกได้อย่างอิสระ

เซ็นทรัล หาดใหญ่ จัดงาน “Hatyai Pride for All” ฉลองเดือนแห่งความเท่าเทียม เปิดโอกาสให้ทุกเพศสภาพแสดงออกได้อย่างอิสระ

วันจันทร์ ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2568

โครงการเยาวชนไทยในสหรัฐฯ นำ 200 คน เยือนแผ่นดินแม่

โครงการเยาวชนไทยในสหรัฐฯ นำ 200 คน เยือนแผ่นดินแม่

วันจันทร์ ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2568

ฝนหนักน่าน เชียงรายอ่วม ปภ. Cell Broadcastเตือน

ฝนหนักน่าน เชียงรายอ่วม ปภ. Cell Broadcastเตือน

วันเสาร์ ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2568

DPU เปิดเคล็ดลับธุรกิจอาหารรอดได้รวยให้เป็น

DPU เปิดเคล็ดลับธุรกิจอาหารรอดได้รวยให้เป็น

วันพฤหัส ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2568

CE-7 MATCH คว้ารางวัลพระราชทาน Platinum Award สุดยอดงานวิจัยนวัตกรรม

CE-7 MATCH คว้ารางวัลพระราชทาน Platinum Award สุดยอดงานวิจัยนวัตกรรม

วันพฤหัส ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2568

ข่าวที่เกี่ยวข้อง