ทีมวิจัยระดมทีมเฝ้าระวังน้ำท่วมเชียงราย-น่าน
วันพฤหัส ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
การดู : 14

แชร์ :
ทีมวิจัยแผนงานมุ่งเป้า ‘น้ำมั่นคง ไม่ท่วม ไม่แล้ง’ เกาะติดสถานการณ์น้ำ 2 จังหวัด เชียงราย น่าน สสน.พัฒนาแผนที่ความเสี่ยงจากฝนสะสม พื้นที่เฝ้าระวังพิเศษน้ำท่วมรายตำบลเผยแพร่ทั้งเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน
ผศ. ดร.อังกูร ว่องตระกูล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา หัวหน้าโครงการวิจัยระบบการเตือนภัยและแนวทางการป้องกันน้ำท่วม ในเขตเมือง จังหวัดเชียงราย ทีมวิจัยแผนงานเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ ววน. ในประเด็น น้ำมั่นคง ไม่ท่วม ไม่แล้ง กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมเชียงรายปลายเดือนมิถุนายน ว่าเกิดจากอิทธิพลของมรสุม ทำให้มีฝนฟ้าคะนอง ฝนตกสะสมต่อเนื่อง มีราษฎรได้รับความเดือดร้อน 4,405 ครัวเรือน นาข้าว 500 ไร่ สถานที่และสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ เสียหายหลายจุด
รายงานแจ้งว่า นักวิจัยได้รายงานสรุปสถานการณ์อุทกภัยจังหวัดเชียงรายต่อคณะอนุกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดินด้านการจัดการภัยพิบัติระดับชาติ วุฒิสภา เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 ว่าการเตือนภัยน้ำท่วม โครงการป้องกันน้ำท่วม แผนงานระดับตำบล จังหวัด ต้องใช้กลไกการบริหารราชการแผ่นดินตั้งแต่ระดับนโยบาย กรม ภูมิภาค ระดับจังหวัด อปท.หรือชุมชน โดยอาศัยสถาบันการศึกษาทำหน้าเป็นพี่เลี้ยงให้กับแต่ละลุ่มน้ำ
ทีมวิจัยได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเครือข่ายภาคประชาชน 7 ชุมชนต้นน้ำกก ทำเกณฑ์ระดับน้ำที่ตำแหน่งสำคัญตามชุมชนต่าง ๆ เพื่อติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังอุทกภัย สนับสนุนข้อมูลรายวันเพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์แม่น้ำกกและแม่น้ำสาขาให้กับศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงเหนือ สทนช. โดยเผยแพร่ข้อมูลการติดตามสถานการณ์น้ำรายวันในเพจ ระบบการเตือนภัยและแนวทางการป้องกันน้ำท่วม ในเขตเมือง จังหวัดเชียงราย เว็บไซต์เครือข่ายการเตือนภัยน้ำท่วม ลุ่มน้ำโขงเหนือ ล่าสุดได้ร่วมมือกับส่วนอุกทกวิยาที่ 2 เชียงราย ศูนย์อุทกวิทยาชลประทาน ภาคเหนือตอนบน ติดตามระดับน้ำกกที่สถานีคู่เตือนภัย (สะพานแม่นาวางและสะพานพ่อขุน) เป็นรายชั่วโมงเพื่อประเมินอัตราการเพิ่มของระดับน้ำอย่างแม่นยำ ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนชาวเชียงราย
ผศ. ดร. นสพ.วินัย แก้วละมุล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และอาจารย์ประจำสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร (น่าน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จังหวัดน่านเป็นอีกพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำของรัฐบาล มีระบบ Single Command อุทกภัยน่าน ชลประทานจังหวัดน่าน รับผิดชอบการรายงานสถานการณ์น้ำ ประสานกับทีมวิจัยเพื่อวางระบบการวิเคราะห์และพยากรณ์สถานการณ์เป็นรายวัน สำหรับวางแผนและตัดสินใจบริการจัดการน้ำ รวมถึงการแจ้งเตือนประชาชน และรายงานผลให้ทางจังหวัดรับทราบ เพื่อเฝ้าระวังการเกิดอุทกภัย รวมถึงทำงานร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่ซึ่งมีมาตรการรับมือสถานการณ์น้ำอยู่แล้ว
ทีมวิจัยกำลังรวบรวมข้อมูล ทำแบบจำลองการพยากรณ์น้ำฝนและน้ำท่วม โดยการนำข้อมูลพยากรณ์ฝนกรมอุตุนิยมวิทยาและข้อมูลดาวเทียมมาพยากรณ์ฝนคาดการณ์ล่วงหน้า 3 วัน โดยจะแปลความจากข้อมูลเชิงเทคนิคเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย สื่อสารให้คนทั่วไปรับทราบ โดยพื้นที่เฝ้าระวังพิเศษในจังหวัดน่านมี 6 จุด ใน 4 อำเภอ คือ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเชียงกลาง อำเภอบ่อเกลือ และอำเภอปัว ขณะที่สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. ได้พัฒนาระบบแผนที่ความเสี่ยงคาดการณ์จากฝนสะสม 3 วัน และพื้นที่เฝ้าระวังพิเศษเสี่ยงน้ำท่วมจากฝนสะสม รายตำบล ล่วงหน้า 48 ชั่วโมง เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ Thaiwater.net และแอปพลิเคชันมือถือ Thaiwater
โครงการวิจัยระบบการเตือนภัยและแนวทางการป้องกันน้ำท่วม ในเขตเมือง จังหวัดเชียงราย ทีมวิจัยแผนงานเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ ววน. ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
#น้ำมั่นคง ไม่ท่วม ไม่แล้ง #ท่วมเชียงราย #ท่วมน่าน,
ข่าวอัพเดท

ทีมวิจัยระดมทีมเฝ้าระวังน้ำท่วมเชียงราย-น่าน
วันพฤหัส ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

ผบช.ตม.ตรวจชายแดนไทย-กัมพูชา
วันพฤหัส ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

นวัตกรชุมชน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนไทยด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม
วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

สวทช. โชว์แพลตฟอร์ม LEAD EducationสอนAIได้ผล
วันจันทร์ ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2568

มรภ.อุตรดิตถ์ ดันข้อต่อใหม่ บ.มะขามสามเกลอสู่ตลาดมูลค่าสูง
วันจันทร์ ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2568

“อิ๊งค์”ต้อนรับเยาวชนไทยในสหรัฐฯ -กต.เปิดโชว์นาฏศิลป์ประทับใจ
วันจันทร์ ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2568
