FoodSERP สวทช.ขุมพลังเพื่ออุตสาหกรรมอาหารฟังก์ชั่นเวชสำอาง
วันพฤหัส ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2567
การดู : 108

แชร์ :
สวทช. เปิดFoodSERP Platformขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารผสมฟังก์ชัน และเวชสำอาง ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แจงกระแสโลกผู้บริโภค80%ต้องการกินเพื่อสุขภาพ อาหารเครื่องดื่มสายโพรไบโอติกส์แข่งกันเติบโต
ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผอ.สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดร.กอบกุล เหล่าเท้ง ผอ.กลุ่มแพลตฟอร์มบริการผลิตอาหารและส่วนผสมฟังก์ชัน (FoodSERP) สวทช. และทีมวิจัย แถลงข่าวเปิดตัวFoodSERP Platform แพลตฟอร์มขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนผสมฟังก์ชัน และเวชสำอาง ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำไทยสู่ความยั่งยืน

ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา ประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ กล่าวว่า แนวโน้มที่สำคัญของโลกหรือเมกะเทรนด์ (Megatrend) จากการสำรวจของ FMCG Gurus ระบุว่า ผู้บริโภคกว่า 79% จะบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น เช่น อาหารฟังก์ชันและอาหารโพรไบโอติกส์ ปี 2564 ตลาดอาหารและเครื่องดื่มฟังก์ชันทั่วโลกมีมูลค่า 180.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในอนาคตคาดว่า ตลาดอาหารฟังก์ชันโลกจะเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ย 2.7% ต่อปี อาหารโปรตีนทางเลือกจากพืช BIS Research คาดว่า ตลาดอาหารโปรตีนทางเลือกจากพืชจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึง 14.3% ต่อปี ระหว่างปี 2564-2568 ผู้บริโภคมีความต้องการหลากหลายขึ้น การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรในอนาคต ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคแตกต่างกัน ส่งผลต่อห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมอาหารเช่นกัน เปลี่ยนระบบนิเวศอุตสาหกรรมอาหารจากรูปแบบดั้งเดิม เป็นในรูปแบบแพลตฟอร์ม (Platform) ผู้ประกอบการหรือหน่วยธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัว เช่น การสร้างโอกาสใหม่ ๆ การปรับรูปแบบธุรกิจ หรือการพึ่งพาและเข้าใจเทคโนโลยีให้มากขึ้น
การเปิดตัว FoodSERP Platform เป็นการสร้างมิติใหม่ของการวิจัยแบบมุ่งเป้าที่มีพันธกิจหลักในการให้บริการการผลิตและวิเคราะห์ทดสอบอาหาร เครื่องสำอาง และส่วนผสมฟังก์ชัน การตอบโจทย์เมกะเทรนด์และทิศทางของอุตสาหกรรมอาหารที่กำลังเปลี่ยนไป
ศ.ดร.ชูกิจ กล่าวว่า ฟูดเซิร์ป แพลตฟอร์ม มีจุดเด่นที่ไม่เหมือนใคร คือการให้บริการตลอดห่วงโซ่การผลิตตามโจทย์ที่เป็นความต้องการเฉพาะ (Tailor made) ของลูกค้า แบบ One-stop service เชื่อมโยงกับพันธมิตรทั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลกฎระเบียบและมาตรฐาน เป็นการสร้างนิเวศของอุตสาหกรรมส่วนผสมฟังก์ชั่น (Functional ingredients) อาหารฟังก์ชั่นและเวชสำอาง จากฐานทรัพยากรชีวภาพทางการเกษตรและจุลินทรีย์ของประเทศ ลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากต่างประเทศ ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน FoodSERP ได้ให้บริการผู้ประกอบการแล้วมากกว่า 250 ราย โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมได้มากกว่า 30 ผลงาน มีผู้ประกอบการที่กลับมาใช้บริการ (returned customers) ทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และการใช้บริการในส่วนอื่น ๆ
FoodSERP Platform มีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมใช้ประโยชน์ และ Thailand Bioresource Research Center หรือ TBRC คลังจุลินทรีย์ชั้นนำระดับอาเซียน เกือบ 1 แสนสายพันธุ์ เป็นต้นน้ำที่สำคัญของงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และมีโรงงานผลิตกึ่งอุตสาหกรรม 2 แห่งที่มีมาตรฐานสากล การผลิตและทดลองตลาด คือ โรงงานต้นแบบชีวกระบวนการไบโอเทค หรือ BBFตามมาตรฐาน Codex GHPs & HACCP โรงงานผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอางที่ได้มาตรฐาน ASEAN Cosmetic GMP นอกจากนี้ FoodSERP ยังมี technology platform รองรับการต่อยอดการใช้ประโยชน์ เช่น การผลิตโพรไบโอติกสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมอาหารคนและสัตว์ การผลิตต้นเชื้อบริสุทธิ์สำหรับอาหารและเครื่องดื่มหมักเพื่อสุขภาพ FoodSERP ให้ความสำคัญกับภาคเอกชน บูรณาการความร่วมมือกับพันธมิตรภาครัฐและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารอนาคต ส่วนประกอบฟังก์ชั่น และเวชสำอางให้มีทั้งคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัย
ดร.กอบกุล กล่าวว่า อุตสาหกรรมอาหารคือหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างรายได้เข้าประเทศเป็นเม็ดเงินมหาศาล ด้วยความได้เปรียบของไทยที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ทิศทางของอุตสาหกรรมอาหารโลก มุ่งไปสู่อาหารใหม่ หรืออาหารฟังก์ชันที่ตอบโจทย์ทั้งด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และความยั่งยืน แพลตฟอร์มบริการผลิตอาหารและส่วนผสมฟังก์ชัน หรือ FoodSERP สวทช. จึงช่วยการเติบโตของอุตสาหกรรมใหม่ ผ่านกลยุทธ์ การผนวกวิทยาการความรู้ และความเชี่ยวชาญสหสาขา เครื่องมือและโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ใน สวทช. โดยให้บริการตลอดห่วงโซ่การผลิต
FoodSERP ให้บริการการผลิตและวิเคราะห์ทดสอบตลอดห่วงโซ่การผลิตอาหาร ส่วนผสมฟังก์ชั่น และเวชสำอาง รวมถึงการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สำหรับทดลองตลาดและจำหน่ายเชิงพาณิชย์ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผลิตภัณฑ์ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.ส่วนผสมฟังก์ชั่น (functional ingredients) 2.โปรตีนทางเลือก(alternative proteins) และ 3.อาหารเฉพาะกลุ่ม (foods for specific group) ครอบคลุมทั้งกระบวนการต้นน้ำ และกระบวนการปลายน้ำ ตั้งแต่การคัดสรรวัตถุดิบ การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการผลิต การขยายขนาดการผลิต การวิเคราะห์ทดสอบคุณภาพ ประสิทธิภาพและความปลอดภัย รวมถึงการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ บนฐานความเข้มแข็งของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
ข่าวอัพเดท

สัมมนาเจ้าหน้าที่กงสุลทั่วโลก ติวเข้มบริการทันสมัยทุกมิติ
วันจันทร์ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

TJA รับมอบทุนการศึกษาระดับ ป.โท จากซีพี ออลล์ เพื่อพัฒนาศักยภาพสื่อมวลชน
วันจันทร์ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

”ไทยรัฐ-มติชน-ข่าวสด-เดลินิวส์“คว้ารางวัลประกวดพาดหัวข่าวสร้างสรรค์ดีเด่น
วันเสาร์ ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

ชี้โอกาสไทยยังมีให้ลงทุนวิจัยนวัตกรรมที่คืนทุนไวใช้ได้จริง
วันเสาร์ ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

อว.-มท.เดินเครื่องรับมืออุทกภัยน้ำแล้ง
วันพุธ ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
