ชายแดนใต้ชี้จุดอ่อนปากท้อง-การศึกษา-โครงสร้างพื้นฐาน

วันอาทิตย์ ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2568

การดู : 104

ชายแดนใต้ชี้จุดอ่อนปากท้อง-การศึกษา-โครงสร้างพื้นฐาน

แชร์ :

เวทีระดมสมองเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนภาคใต้ชายแดน ปัตตานีมีคะแนน SDG Index สูงสุด แต่ระดับภาคเผชิญกับปัญหาปากท้อง ความยากจน การศึกษาไม่ตอบโจทย์ ย้ำรัฐเร่งพัฒนาให้ต้องสอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ส่งเสริมโอกาสทางเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตสู่ความยั่งยืน

ผศ.ชล บุนนาค ผอ.ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า ศูนย์ฯ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และคณะทำงานระดับภาคใต้ชายแดน เปิดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการนำเสนอข้อมูลความท้าทายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับภูมิภาคและรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) บรรยากาศการประชุมเต็มไปด้วยข้อเสนอแนะเข้มข้น ตั้งแต่แนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิต ปากท้อง-การศึกษา-โครงสร้างพื้นฐาน ไปจนถึงการพัฒนาเศรษฐกิจที่ตอบโจทย์พื้นที่ ซึ่งได้รับความสนใจจากภาคีเครือข่ายระดับนโยบาย นำโดย น.ส.แคทรียา ปทุมรส รองอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และคณะเข้าร่วมรับฟังอย่างใกล้ชิด

ผศ. ดร.สมพร ช่วยอารีย์ ผอ.สำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นำเสนอแนวทางสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาใน 3 ด้าน ได้แก่ การเป็นศูนย์กลางองค์ความรู้และนวัตกรรม การทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมและหน่วยงานรัฐ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านการศึกษาและวิจัย โดยระบุโครงการต้นแบบ เช่น โครงการพัฒนาและยกระดับการจัดการเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม ซึ่งใช้จังหวัดปัตตานีเป็นกรณีศึกษา เชื่อมโยงการพัฒนาไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมในพื้นที่

ทีม SDG Move ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความท้าทายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนจาก SDG Index ระดับจังหวัดและระดับภูมิภาคแก่พื้นที่ พบว่าปัตตานีมีคะแนน SDG Index สูงที่สุด ได้ 56.15 คะแนน โดย SDG 7: พลังงานสมัยใหม่ SDG 9: โครงสร้างพื้นฐาน และ SDG 10: ความเท่าเทียม ทำได้ค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับอีกสองจังหวัดชายแดน จังหวัดนราธิวาสได้คะแนน SDG Index อยู่ที่ 51.79 คะแนน และยะลา ได้ 50.09 คะแนน

สำหรับประเด็นความเสี่ยงร่วมกันของภาคใต้ชายแดนที่เกี่ยวข้องกับ SDGs มีทั้งสิ้น 8 เป้าหมาย ได้แก่ SDG 1: ยุติความยากจน SDG 2: ยุติความหิวโหย SDG 3: สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี SDG 6: น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล  SDG 8: งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ SDG 11: เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน SDG 12:การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน และ SDG 17: หุ้นส่วนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

“ปัญหาร่วมในพื้นที่ภาคใต้ชายแดนที่ต้องเร่งแก้ไข ได้แก่ ความยากจน การศึกษาที่ไม่มีคุณภาพและเข้าถึงยาก โครงสร้างพื้นฐานที่ไม่มีประสิทธิภาพ เศรษฐกิจในพื้นที่ตกต่ำ ทางออกที่จะแก้ไขปัญหา ต้องอาศัยความรู้ข้ามภาคส่วนและองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ร่วมสะท้อนยุทธศาสตร์ที่คาดหวัง เช่น การสนับสนุนการกระจายองค์ความรู้เรื่องเกษตรแบบผสมผสาน งานวิจัยศึกษาความต้องการสวัสดิการที่ตอบโจทย์ช่วงวัยและบริบทพื้นที่ และนวัตกรรมที่จะช่วยพัฒนาทักษะแรงงานในพื้นที่ โดยเฉพาะด้านการช่างและหัตถกรรม” ผศ.ชลกล่าวสรุป

ข่าวอัพเดท

สัมมนาเจ้าหน้าที่กงสุลทั่วโลก ติวเข้มบริการทันสมัยทุกมิติ

สัมมนาเจ้าหน้าที่กงสุลทั่วโลก ติวเข้มบริการทันสมัยทุกมิติ

วันจันทร์ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

TJA รับมอบทุนการศึกษาระดับ ป.โท จากซีพี ออลล์ เพื่อพัฒนาศักยภาพสื่อมวลชน

TJA รับมอบทุนการศึกษาระดับ ป.โท จากซีพี ออลล์ เพื่อพัฒนาศักยภาพสื่อมวลชน

วันจันทร์ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

”ไทยรัฐ-มติชน-ข่าวสด-เดลินิวส์“คว้ารางวัลประกวดพาดหัวข่าวสร้างสรรค์ดีเด่น

”ไทยรัฐ-มติชน-ข่าวสด-เดลินิวส์“คว้ารางวัลประกวดพาดหัวข่าวสร้างสรรค์ดีเด่น

วันเสาร์ ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

ชี้โอกาสไทยยังมีให้ลงทุนวิจัยนวัตกรรมที่คืนทุนไวใช้ได้จริง

ชี้โอกาสไทยยังมีให้ลงทุนวิจัยนวัตกรรมที่คืนทุนไวใช้ได้จริง

วันเสาร์ ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

อว.-มท.เดินเครื่องรับมืออุทกภัยน้ำแล้ง

อว.-มท.เดินเครื่องรับมืออุทกภัยน้ำแล้ง

วันพุธ ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

สนท.มอบรางวัล “เกียรติยศคนหนังสือพิมพ์” เชิดชูเกียรติ “พงษ์ศักดิ์-สุทธิชัย-ซูม”

สนท.มอบรางวัล “เกียรติยศคนหนังสือพิมพ์” เชิดชูเกียรติ “พงษ์ศักดิ์-สุทธิชัย-ซูม”

วันพุธ ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

มจธ. พัฒนาอะลูมิเนียมใหม่ทนร้อนสูงผสมScธาตุหายากเพื่ออุตสาหกรรม EV

มจธ. พัฒนาอะลูมิเนียมใหม่ทนร้อนสูงผสมScธาตุหายากเพื่ออุตสาหกรรม EV

วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

ข่าวที่เกี่ยวข้อง