ชี้น้ำท่วมอ่วมคนเปราะบาง-เชียงรายหนักสุด
วันพฤหัส ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2567
การดู : 118
แชร์ :
เผยน้ำท่วมปีนี้อ่วมไป 2.55 ล้านคน เกินครึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางทั้งเด็กและผู้สูงอายุ สกสว.ขอเป็นข้อต่อเชื่อมการจัดการน้ำเพื่อ ทีมวิจัยบริหารจัดการน้ำ ชี้ยังท่วมคลุมอยู่ 8 จังหวัด คาดน้ำท่าสูงขึ้นใน 10 วัน ตั้งแต่ภาคเหนือตอนล่างและอยุธยา ภาคกลางภาคอีสานฝนยังเยอะ
คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดประชุมหน่วยบูรณาการประเด็นยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ด้านการบูรณาการบริหารงานวิจัย ด้านบริหารทรัพยากรน้ำ เมื่อวันที่18กย67 มี รศ. ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผอ. สกสว. เป็นประธาน
รศ. ดร.ปัทมาวดี กล่าวว่า สกสว. และกองทุน ววน.จะสนับสนุน และบูรณาการการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ เชื่อมโยงกับการบริหารจัดการระดับลุ่มน้ำ ด้วยกลไกเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้น้ำตอนบน ตอนกลาง และตอนล่างของลุ่มน้ำ เชื่อมโยงผู้ใช้น้ำข้ามลุ่มน้ำ ซึ่งต้องมีข้อต่อให้ข้อมูล ชุดความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สนับสนุนการปฏิบัติทั้งระดับพื้นที่ ลุ่มน้ำ ทำงานเป็นกลุ่มก้อน เชื่อมโยงทุกหน่วยงานในระบบการบริหารจัดการน้ำ
ประเด็นการหารือ ประกอบด้วย (1) การบูรณาการงานวิจัยด้านทรัพยากรน้ำ การนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ และการกำหนดโจทย์วิจัยด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2570 (2) การดำเนินงานประเด็นมุ่งเป้าตามยุทธศาสตร์ ววน. (ระดับลุ่มน้ำ หรือ ระดับจังหวัด) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (3) โครงการการสังเคราะห์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของประเทศไทยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: ผลกระทบทางเศรษฐกิจ-สังคม-สิ่งแวดล้อม และการปรับตัว เพื่อเป็นข้อมูลแก่ธนาคารโลกและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (4) แนวทางการดำเนินงานของคณะทำงาน
รศ. ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ประธานแผนงานวิจัยแผนงานการขับเคลื่อนแนวทางการใช้ประโยชน์ด้านการบริหารจัดการน้ำ ระยะที่ 1 ทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เปิดเผยการวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA เมื่อวันที่12 กย. 67 พื้นที่น้ำท่วมยังครอบคลุม 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ พะเยา พิจิตร พิษณุโลก และสุโขทัย ส่วนสถานการณ์น้ำของเขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำฝนยังมีสูงบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนเหนือและตอนใต้ ปริมาณน้ำเก็บกักในเขื่อนภูมิพล 52% (เก็บกักทีรับได้ 6,527 ล้าน ลบ.ม.) เขื่อนสิริกิติ์ 84% (ปริมาตรที่รับได้ 1,568 ล้าน ลบ.ม.) เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน 50% (ปริมาตรที่รับได้ 473 ล้าน ลบ.ม.) และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 37% (ปริมาตรเก็บกักที่รับได้ 41 ล้าน ลบ.ม.)
สรุปปริมาณน้ำคาดการณ์ระหว่างวันที่ 15-29 กย. 67 น้ำท่าในลุ่มน้ำเจ้าพระยามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จ.เชียงรายน้ำท่ามีแนวโน้มลดลง คาดการณ์ปริมาณน้ำท่าสูงสุด 10 วันข้างหน้า ประกอบด้วย จ.กำแพงเพชรเพิ่มจาก 120 ลบ.ม./วินาที เป็น 245 ลบ.ม./วินาที จ.พิษณุโลกจาก 282 ลบ.ม./วินาที เป็น 412 ลบ.ม./วินาที จ.อุทัยธานีจาก 40 ลบ.ม./วินาที เป็น 67 ลบ.ม./วินาที จ.นครสวรรค์จาก 1,246 ลบ.ม./วินาที เป็น 1,336 ลบ.ม./วินาที จ.พระนครศรีอยุธยาจาก 1,196 ลบ.ม./วินาที เป็น 1,457 ลบ.ม./วินาที
“ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากภาวะน้ำท่วม ระดับตำบล วิเคราะห์จากภาพถ่ายดาวเทียม วันที่ 14 กย. 67 มีพื้นที่น้ำท่วมทั้งสิ้น 896,280 ไร่ ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตร นาข้าวได้รับผลกระทบ275,535 ไร่ ความเสียหาย 1,244 ล้านบาท ภาคเหนือเสียหายมากสุด 705 ล้านบาท กระทบต่อประชาชนกว่า 2.55 ล้านคน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน ในจำนวนนี้ 5.12 แสนคนเป็นผู้สูงอายุ เป็นเด็กแรกเกิดถึง 18 ปี กว่า 4.67 แสนคน ภาคเหนือประสบปัญหาน้ำท่วมหนักสุดโดยเฉพาะจ.เชียงราย พื้นที่น้ำท่วมสูงเป็นอันดับ 1 เสียหาย 153,056 ไร่ รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครพนมและหนองคาย ส่วนภาคกลางเริ่มประสบปัญหาน้ำท่วมในบางพื้นที่” รศ. ดร.สุจริตกล่าว
คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดประชุมหน่วยบูรณาการประเด็นยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ด้านการบูรณาการบริหารงานวิจัย ด้านบริหารทรัพยากรน้ำ เมื่อวันที่18กย67 มี รศ. ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผอ. สกสว. เป็นประธาน
รศ. ดร.ปัทมาวดี กล่าวว่า สกสว. และกองทุน ววน.จะสนับสนุน และบูรณาการการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ เชื่อมโยงกับการบริหารจัดการระดับลุ่มน้ำ ด้วยกลไกเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้น้ำตอนบน ตอนกลาง และตอนล่างของลุ่มน้ำ เชื่อมโยงผู้ใช้น้ำข้ามลุ่มน้ำ ซึ่งต้องมีข้อต่อให้ข้อมูล ชุดความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สนับสนุนการปฏิบัติทั้งระดับพื้นที่ ลุ่มน้ำ ทำงานเป็นกลุ่มก้อน เชื่อมโยงทุกหน่วยงานในระบบการบริหารจัดการน้ำ
ประเด็นการหารือ ประกอบด้วย (1) การบูรณาการงานวิจัยด้านทรัพยากรน้ำ การนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ และการกำหนดโจทย์วิจัยด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2570 (2) การดำเนินงานประเด็นมุ่งเป้าตามยุทธศาสตร์ ววน. (ระดับลุ่มน้ำ หรือ ระดับจังหวัด) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (3) โครงการการสังเคราะห์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของประเทศไทยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: ผลกระทบทางเศรษฐกิจ-สังคม-สิ่งแวดล้อม และการปรับตัว เพื่อเป็นข้อมูลแก่ธนาคารโลกและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (4) แนวทางการดำเนินงานของคณะทำงาน
รศ. ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ประธานแผนงานวิจัยแผนงานการขับเคลื่อนแนวทางการใช้ประโยชน์ด้านการบริหารจัดการน้ำ ระยะที่ 1 ทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เปิดเผยการวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA เมื่อวันที่12 กย. 67 พื้นที่น้ำท่วมยังครอบคลุม 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ พะเยา พิจิตร พิษณุโลก และสุโขทัย ส่วนสถานการณ์น้ำของเขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำฝนยังมีสูงบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนเหนือและตอนใต้ ปริมาณน้ำเก็บกักในเขื่อนภูมิพล 52% (เก็บกักทีรับได้ 6,527 ล้าน ลบ.ม.) เขื่อนสิริกิติ์ 84% (ปริมาตรที่รับได้ 1,568 ล้าน ลบ.ม.) เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน 50% (ปริมาตรที่รับได้ 473 ล้าน ลบ.ม.) และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 37% (ปริมาตรเก็บกักที่รับได้ 41 ล้าน ลบ.ม.)
สรุปปริมาณน้ำคาดการณ์ระหว่างวันที่ 15-29 กย. 67 น้ำท่าในลุ่มน้ำเจ้าพระยามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จ.เชียงรายน้ำท่ามีแนวโน้มลดลง คาดการณ์ปริมาณน้ำท่าสูงสุด 10 วันข้างหน้า ประกอบด้วย จ.กำแพงเพชรเพิ่มจาก 120 ลบ.ม./วินาที เป็น 245 ลบ.ม./วินาที จ.พิษณุโลกจาก 282 ลบ.ม./วินาที เป็น 412 ลบ.ม./วินาที จ.อุทัยธานีจาก 40 ลบ.ม./วินาที เป็น 67 ลบ.ม./วินาที จ.นครสวรรค์จาก 1,246 ลบ.ม./วินาที เป็น 1,336 ลบ.ม./วินาที จ.พระนครศรีอยุธยาจาก 1,196 ลบ.ม./วินาที เป็น 1,457 ลบ.ม./วินาที
“ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากภาวะน้ำท่วม ระดับตำบล วิเคราะห์จากภาพถ่ายดาวเทียม วันที่ 14 กย. 67 มีพื้นที่น้ำท่วมทั้งสิ้น 896,280 ไร่ ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตร นาข้าวได้รับผลกระทบ275,535 ไร่ ความเสียหาย 1,244 ล้านบาท ภาคเหนือเสียหายมากสุด 705 ล้านบาท กระทบต่อประชาชนกว่า 2.55 ล้านคน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน ในจำนวนนี้ 5.12 แสนคนเป็นผู้สูงอายุ เป็นเด็กแรกเกิดถึง 18 ปี กว่า 4.67 แสนคน ภาคเหนือประสบปัญหาน้ำท่วมหนักสุดโดยเฉพาะจ.เชียงราย พื้นที่น้ำท่วมสูงเป็นอันดับ 1 เสียหาย 153,056 ไร่ รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครพนมและหนองคาย ส่วนภาคกลางเริ่มประสบปัญหาน้ำท่วมในบางพื้นที่” รศ. ดร.สุจริตกล่าว
ข่าวอัพเดท