ซูลิกขึ้นเวียดนาม-อีสานด่านแรก
วันพฤหัส ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2567
การดู : 70
แชร์ :
สสน..ย้ำใน 72 ชม. 37 จังหวัดต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ อุตุฯประกาศฉบับ 10 แจ้งพายุ’ซูลิก’ขึ้นฝั่งเวียดนาม คืน 19กย67 ส่งผลอีสาน 11 จังหวัด หนองคาย ยันอุบลฯ เจอฝนหนัก ภาคตะวันออก รวมถึงภาคใต้ จากเพชรบุรี ถึงสงขลา
คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) แจ้งการคาดการณ์ พื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำล่วงหน้า 72 ชั่วโมง (วันที่ 19-21 กย. 67) ภาคเหนือ 7 จังหวัด ได้แก่ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พะเยา น่าน แพร่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13 จ. ได้แก่ จ.เลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ อุบลราชธานี นครราชสีมา
ภาคกลาง 3 จ. กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี
ภาคตะวันออก 5 จ. ตราด จันทบุรี ชลบุรี ปราจีนบุรี นครนายก
ภาคใต้ 9 จ. ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล ยะลา
สสน. แจ้งการเฝ้าติดตาม พายุโซนร้อน “ซูลิก” กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก คาดว่าจะขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในวันที่ 19 กย.67 จากนั้นจะอ่อนกำลังลง ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบน โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีลมแรง ฝนเพิ่มขึ้น จึงให้ติดตามและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ทางด้านกรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเรื่อง พายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 10 ความว่า เมื่อเวลา 16.00 น.วันที่19 ก.ย. 67 พายุโซนร้อน “ซูลิก” ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งเมืองกวางตรี ประเทศเวียดนามแล้ว มีศูนย์กลางห่างจังหวัดนครพนม ไปทางทิศตะวันออกของ ประมาณ 250 กม. มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กม/ชม
กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ความเร็วประมาณ 20 กม.ชม. คาดว่าจะอ่อนกำลังเป็นพายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ประกอบกับร่องมรสุมกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมาก
ตามประกาศแจ้งประชาชนบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ฝนที่ตกสะสม อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่าน พื้นที่ลุ่ม
จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก
วันที่ 19 กันยายน 2567
|
|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:
|
จ.บึงกาฬ สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี (11)
|
ภาคตะวันออก: |
จ.จันทบุรี และตราด (2) |
ภาคใต้: |
จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล (12) |
|
|
วันที่ 20 กันยายน 2567 |
ภาคเหนือ:
|
จ.ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ (9) |
|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:
ภาคกลาง |
จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี (20)
จ.นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (8) |
|
ภาคตะวันออก:
|
จ.นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ตราด (6)
|
|
ภาคใต้:
|
จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล (11)
|
|
กรมชลประทาน รายงานผ่านทาง RID Report บ่ายวันที่ 19 กย 67 ว่า ผลจากพายุซูลิก ที่อาจทำให้มีฝนเพิ่มขึ้น คาดว่าจะทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้นช่วงวันที่ 22-23 กย 67 บริเวณจ.นครพนม โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ติดริมตลิ่ง
กรมชลประทานเตรียมมาตรการรองรับทางฝั่งแม่น้ำชี โดยแขวนบานระบายเขื่อนลำน้ำชี 5 แห่ง เพื่อเร่งระบายน้ำลงสู่พื้นที่ตอนล่าง พร่องน้ำไว้รองรับฝนที่จะเติมเข้ามา ไม่ให้กระทบต่อพื้นที่ด้านท้าย ส่วนแม่น้ำมูล เขื่อนหัวนา ก็ปฏิบัติเช่นกัน
บริเวณ อ.วารินชำราจ.อุบลราชธานี ได้เสริมคันตลิ่งจากระดับ+ 112 เมตร/ระดับทะเลปานกลาง เพิ่มขึ้นไปอีก 1.5 ม.เป็น 113.5 ม/ร.ท.ก ทำให้ความจุของลำน้ำที่สถานีวัดน้ำ M7 สะพานเสรีประชาธิปไตยจาก 2,300 ลูกบาศก์เมตร/วินาทีเป็น 3,200 ม./วินาที ขณะที่ระดับน้ำปัจจุบัน อยู่ในระดับหนึ่งในสามของลำน้ำ จึงคาดว่าจะรองรับได้ ไม่ส่งผลกระทบ
รายงานแจ้งสถานการณ์ลุ่มเจ้าพระยา ที่สถานี C2 จ.นครสวรรค์ มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ การระบายท้ายเขื่อนเจ้าพระยา วันที่ 19 กย 67 ลดลงอีก 50 ลบ.ม./วินาที เหลือ 1,049 ลบ.ม./วินาที พยายามควบคุมระดับน้ำเหนือเขื่อนให้อยู่ที่ระดับ 14.5 ม./ร.ท.ก. เพื่อรองรับฝนจากยอมความกดอากาศต่ำของพายุซูลิคในอีก 5-7 วันถัดไป ไม่ให้กระทบกับพื้นที่ด้านท้าย
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า กรมชลประทาน ได้ทำหนังสือแจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดพื้นที่ด้านท้ายน้ำ ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ริมตลิ่งผู้ประกอบการต่างๆ ให้ทราบสถานการณ์ ที่อาจระบายน้ำเพิ่มขึ้นอีก แต่คาดว่าจะไม่เกิน 1,500 ลบ.ม./วินาที ขอให้ติดตามสภาพอากาศและรายงานระดับน้ำ
ข่าวอัพเดท