เร่งงบหนุน มทร.สุวรรณภูมิสู่ Technology Innovation Park ไต่อันดับโลก

วันอังคาร ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2567

การดู : 64

เร่งงบหนุน มทร.สุวรรณภูมิสู่ Technology Innovation Park ไต่อันดับโลก

แชร์ :

สกสว. ผลักดันมทร.สุวรรณภูมิสถาบันสู่ Technology and Innovation Park ปรับแนวทางสนับสนุนงบฯ ภาคอุดมศึกษา เพิ่มความสามารถผลิตงานวิจัยสร้างประเทศ ตั้งเป้าติดอันดับดัชนีนวัตกรรมโลก (Global Innovation Index) สูงขึ้น สู่อันดับ 35 จาก 43

รศ. ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รอง ผอ.สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) เปิดเผยภายหลังการแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการงานวิจัย ผ่านกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) กับ ผศ.ดร.ภาสพิรุฬห์ วัชรศรีสําเริง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิการว่า ได้หารือ และนำเสนอ ววน.ของประเทศในการสนับสนุนงบประมาณทุนงานมูลฐาน หรือ Fundamental Fund: FF จากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ กองทุน ววน. ลักษณะจัดสรรงบประมาณแบบ Block Grant โดยใช้ข้อมูลผลการดำเนินงานในอดีตเป็นหลักในการพิจารณา

ผศ. ดร.ภาสพิรุฬห์ วัชรศรีสําเริง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยฯ วางเป้าหมายเป็น Technology and Innovation Park  กำหนดกรอบการวิจัยด้าน ววน. 2566-2570รวม 7 แผนงาน ประกอบด้วย 1. การวิจัยและสร้างนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 2.วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ หุ่นยนตร์และระบบอัตโนมัติ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ 3.วิจัยและพัฒนาระบบโลจิสติกส์และระบบราง อุตสาหกรรมเป้าหมายให้ได้มาตรฐานสากล 4. การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาท้าทายด้านเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน 5.วิจัยและนวัตกรรมเพื่อรองรับการท่องเที่ยว ยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมผู้สูงวัย 6.วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และ 7.บริหารจัดการงานวิจัยเพื่อสร้างความเข้มแข็งของระบบนิเวศวิจัยของมหาวิทยาลัย

คณะผู้บริหาร สกสว.ได้เยี่ยมชมการนำเสนอผลผลิตงานวิจัยที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุน ววน. อาทิ โครงการการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในระบบน้ำสะอาด โดยใช้เทคนิคไบโอฟลอคเป็นแนวทางลดต้นทุนภายใต้ระบบการผลิตที่เป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อม, โครงการการจัดการและควบคุมสภาวะแวดล้อมพื้นที่ปลูกด้วยเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ ภายใต้โครงการการพัฒนาศูนย์ต้นแบบเกษตรกรปราดเปรื่อง (
Smart Farmer) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามศาสตร์พระราชา มทร.สุวรรณภูมิ, โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากเนื้อแพะและนมแพะเพื่อยกระดับมาตรฐานอาหารปลอดภัยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน, โครงการการพัฒนาศักยภาพชุมชนนวัตวิถีรองรับการท่องเที่ยวแบบปกติใหม่ตามแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ในพื้นที่ภาคกลาง  รวมถึงเยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐานและห้องปฏิบัติการด้านเกษตรและอาหารปลอดภัย และศูนย์วิศวกรรมระบบรางและอุตสาหกรรมการผลิต 

วัตถุประสงค์หลักของ FF เพื่อพัฒนาศักยภาพด้าน ววน. ของหน่วยรับงบประมาณให้มีความเข้มแข็ง รวมถึงสนับสนุนงาน FF ที่ครอบคลุมกิจกรรมตามพันธกิจของหน่วยงานและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน ววน. คาดว่าจะได้รับของแผนและการลงทุนด้าน ววน. ในปี 2570 ที่สำคัญ 2 มิติ ประกอบด้วย มิติด้านความสามารถในการแข่งขัน คือ ประเทศไทยมีอันดับดัชนีนวัตกรรมโลก (Global Innovation Index) สูงขึ้น อยู่ใน 35 อันดับแรก ก่อนหน้านี้ อยู่ที่อันดับ 43และมิติด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม คือ อันดับดัชนีความยั่งยืน (SDG Index) ที่สูงขึ้น อยู่ใน 35 อันดับแรก

พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2564 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2565 มีสาระสำคัญ ให้ผู้รับทุนหรือนักวิจัยสามารถเป็นเจ้าของผลงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐได้ และกำหนดหน่วยงาน วิธีการส่งเสริมและการจัดสรรเงินค่าตอบแทนแก่นักวิจัย เพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปใช้ประโยชน์ในวงกว้าง ซึ่งจะช่วยยกระดับงานวิจัยและเพิ่มแรงจูงใจให้สถาบันวิจัยและนักวิจัยในการผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง