ปส.ร่วมเครือข่ายโลกเชื่อมระบบเฝ้าระวังนิวเคลียร์
วันศุกร์ ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2568
การดู : 21

แชร์ :
สนง.ปรมาณูเพื่อสันติ เผยระบบเฝ้าระวังภัยนิวเคลียร์ เชื่อมโยงเครือข่ายโลกทีมี 321 แห่ง ในไทยมีสถานีเฝ้าตรวจ 2 ที่ม.เกษตรกำแพงแสน ตรวจจับอนุภาคกัมมันตรังสีในอากาศ ระบบตรวจวัดความสั่นสะเทือนพิภพที่เชียงใหม่ ทหารเรือก็ร่วมตรวจคลื่นแผ่นดินไหวจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน
นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ รรท. เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่าปส. ได้พัฒนาระบบเฝ้าระวังภัยทางนิวเคลียร์และรังสีที่มีประสิทธิภาพ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อม ด้วยการเชื่อมโยงกับระบบการเฝ้าตรวจระหว่างประเทศ เครือข่ายเฝ้าระวังภัยระดับโลกที่มีสถานีเฝ้าตรวจการทดลองนิวเคลียร์ที่มีศักยภาพสูง 321 แห่งทั่วโลก ตรวจสอบและเฝ้าระวังภัยทางนิวเคลียร์ได้อย่างแม่นยำ การเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่ของเครือข่ายเฝ้าระวัง เนื่องจากการใช้พลังงานนิวเคลียร์ทั่วโลกและในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งด้านพลังงาน การแพทย์ การวิจัย อุตสาหกรรม เกษตร และอื่น ๆ การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านนิวเคลียร์เพื่อความมั่นคงของประเทศต่างๆ
นพ.รุ่งเรือง กล่าวอีกว่า การดำเนินการเป็นไปตามพันธกรณีของสนธิสัญญาห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty, CTBT) การจัดตั้งและดำเนินงานเครือข่ายสถานีเฝ้าตรวจ 2 แห่ง ภายใต้ระบบเฝ้าตรวจระหว่างประเทศ (International Monitoring System – IMS) ได้แก่ 1. สถานีเฝ้าตรวจนิวไคลด์กัมมันตรังสี อาร์เอ็น 65 (Radionuclide Monitoring Station, RN65) อยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 1 ใน 80 สถานีเฝ้าตรวจนิวไคลด์กัมมันตรังสี ที่ติดตั้งอยู่ทั่วโลก มีหน้าที่ตรวจจับอนุภาคกัมมันตรังสีในอากาศ โดย ปส. มีแผนจะติดตั้งระบบตรวจวัดก๊าซเฉื่อยกัมมันตรังสี (Radionuclide Noble Gas System: THX65) ในอนาคตอันใกล้ ส่งผลให้สถานีนี้มีศักยภาพในการตรวจวัดก๊าซเฉื่อยกัมมันตรังสีที่เกิดจากการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ และเป็นเพียงสถานีเดียวในภูมิภาคอาเซียนที่มีศักยภาพในการตรวจวัดดังกล่าว
2. สถานีตรวจวัดความสั่นสะเทือนของพิภพ พีเอส 41 (Primary Seismic Monitoring Station,PS41) ณ สถานีวัดความสั่นสะเทือน จ.เชียงใหม่ 1 ใน 50 สถานีตรวจวัดความสั่นสะเทือนของพิภพ กระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก สถานีดังกล่าวอยู่ภายใต้การดูแลของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ มีหน้าที่ตรวจจับคลื่นแผ่นดินไหวที่อาจเป็นผลจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน
ปส. ได้จัดตั้งศูนย์ข้อมูลแห่งชาติ (National Data Center, N171) ณ ปส. เป็นศูนย์กลางการรับ-ส่งข้อมูลจากทั้งสถานีเฝ้าตรวจในประเทศไทยและจากทั่วโลก ช่วยให้เฝ้าระวัง ตอบสนองภัยที่อาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ ยังติดตั้งสถานีเฝ้าระวังภัยทางรังสีทั่วประเทศ 22 สถานี แบ่งเป็นสถานีเฝ้าระวังภัยทางรังสีในอากาศ 21 สถานี ในน้ำทะเล 1 สถานี เพื่อติดตามและตรวจวัดกระดับรังสีแกมมาในสิ่งแวดล้อม การเฝ้าระวังภัยทางรังสีที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม ตลอด 24 ชั่วโมง ประชาชนจึงมั่นใจได้ว่า เครือข่ายการเฝ้าระวังภัยทางนิวเคลียร์และรังสีที่ทันสมัย ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งการเชื่อมโยงข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยมีความพร้อมทั้งในด้านการเฝ้าระวังและการตอบสนองเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีที่มีประสิทธิภาพ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน และสิ่งแวดล้อม
ข่าวอัพเดท

ปส.ร่วมเครือข่ายโลกเชื่อมระบบเฝ้าระวังนิวเคลียร์
วันศุกร์ ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2568

ม.ฟาฏอนี พัฒนา AHSAN Trustmarkรับรองสินค้ามุสลิม
วันศุกร์ ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2568

ไทยโกย25เหรียญทองสิ่งประดิษฐ์งานประกวดเจนีวา
วันพฤหัส ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2568

คนนับล้านชื่นชอบรถพาเหรดไทยของ “สวนนงนุช”ในงาน”เทศกาลดอกไม้“ระดับโลก
วันเสาร์ ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2568

เปิดไทม์ไลน์ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก 77 จังหวัดปี 2568
วันเสาร์ ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2568

ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกสุดรอบปีคืนสงกรานต์
วันเสาร์ ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2568
