เตือนฝนหนัก21-23 กย67 เหนือ อีสาน ระวัง
วันเสาร์ ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2567
การดู : 61
แชร์ :
อุตุฯประกาศฝนตกหนักถึงหนักมาก 21-23กย67 คลุมภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง สสน.แจ้งเฝ้าระวังสถานการณ์ใน 72 ชม.อีสาน โดนหนัก น้ำโขงจากตอนเหนือจะถึง จ.อุบล 28 กย.
น.ส.กรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 2 (208/2567) เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทยและคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน เมื่อวันที่ 21 กย.67 เวลา. 17.00 ความว่า ช่วงวันที่ 21-23 ก.ย. 67 ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนักบางพื้นที่
ประกาศระบุว่า เนื่องจากร่องมรสุมกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมด้านตะวันออกของภาคเหนือตอนล่าง ขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตอนบน
ประกาศแจ้งว่าจะเกิดฝนตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย โดยจังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากมีดังนี้..
วันที่ 21 กย. 67 |
|
ภาคเหนือ |
จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ (15) |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา (9) |
ภาคกลาง |
จ.นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (9) |
ภาคตะวันออก |
จ.นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด (8) |
ภาคใต้ |
.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ (7) |
วันที่ 22 กย.67 |
|
ภาคเหนือ |
จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ (15) |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี (20) |
ภาคกลาง |
จ.นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (12) |
ภาคตะวันออก |
จ.นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด (7) |
ภาคใต้ |
จ.ระนอง พังงา (2) |
รายงานจากคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.)แจ้งว่า ช่วงวันที่ 22-25 ก.ย.67 ยังต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง โดยร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่าน มีฝนตกหนัก ทั้งภาคเหนือ กลาง อีสาน ตะวันออก อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ท่วมขังในเมือง และน้ำล้นตลิ่ง จากฝนที่ตกสะสม
รายงานระบุพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำล่วงหน้า 72 ชั่วโมง (วันที่ 21 กย. 67) ดังนี้
ภาคเหนือ 7 จังหวัด |
กำแพงเพชร ตาก พะเยา พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ลำปาง น่าน |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 14 จังหวัด |
ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร สกลนคร สุรินทร์ อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ |
ภาคกลาง 6 จังหวัด |
นครสวรรค์ กาญจนบุรี นครปฐม ลพบุรี สมุทรปราการ อุทัยธานี |
ภาคตะวันออก 2 จังหวัด |
จันทบุรี ตราด |
ภาคใต้ 2 จังหวัด |
ตรัง สตูล |
สำหรับพายุดีเปรสชัน “ซูลิก” ได้อ่อนกำลัง เป็นหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง และมีร่องมรสุมกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตอนบน ส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ
ทางด้านกรมชลประทาน รายงานว่า เขื่อนเจ้าพระยายังคงการระบาย1,049 ลบ.ม./วินาที เท่าเดิม โดยระดับน้ำท้ายเขื่อนทรงตัว โดยมีคำชี้แจงว่า การปรับลดการระบายน้ำท้ายเขื่อนต้องสัมพันธ์กับระดับน้ำหน้าเขื่อน เพราะจะมีผลให้เกิดการทรุดตัวของตลิ่งได้ และถ้าระดับน้ำหน้าเขื่อนต่ำเกินไป น้ำจะไม่เข้าระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่ง
นายเศรษฐพงศ์ ภิงคารวัฒน์ รอง ผอ.สำนักงานชลประทานที่ 7 จ.อุบลราชธานี ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการโทรทัศน์ ว่า หย่อมความกดอากาศต่ำที่อ่อนกำลังจากพายุซูลิก ส่งผลให้มีฝนหลายพื้นที่ ที่ จ.อุบลราชธานี ในรอบ 24 ชม.ตกสูงสุด48มม. ขณะที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร มีปริมาณน้ำ67.18% ยังรองรับน้ำได้ การระบายน้ำลงสู่แม่น่ำโขงยังทำได้ดี สำหรับบริเวณ อ.โขงเจียม ระดับแม่น้ำโขงสูง 12.6 เมตร ขณะที่ระดับตลิ่งอยู่ที่ 14.5 ม.คาดการณ์จะขึ้นถึง 14.12 เมตรวันที่ 28 กย.67 โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำไหลจากตอนบนของแม่น้ำโขงลงมาริ่มถึงจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว
ข่าวอัพเดท