โชว์เซนเซอร์อัตโนมัติดักผู้บุกรุกชายแดน

วันศุกร์ ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

การดู : 454

โชว์เซนเซอร์อัตโนมัติดักผู้บุกรุกชายแดน

แชร์ :

กลาโหมโชว์งานวิจัยเซนเซอร์ตรวจจับการบุกรุกโดยอัตโนมัติแนวชายแดน จ.ตราด คล้ายมีหูแนบพื้นดินดักฟังเสียงการสั่นของคน สัตว์ที่เดินผ่านได้

     สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) แจ้งว่า นส.สตตกมล เกียรติพานิช ผอ.กองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 2 พร้อมด้วย รดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ประธานคณะผู้ตรวจสอบทางวิชาการกลุ่มเรื่องสังคมไทยไร้ความรุนแรง ปี 2566 และคณะผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมสังเกตการณ์ ติดตามและประเมินผลการสาธิตการใช้งานระบบตรวจจับการบุกรุกตามแนวชายแดนด้วยเซ็นเซอร์ตรวจวัดการสั่นสะเทือน และเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวแบบอัตโนมัติ ในพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินตราด (บ้านหาดเล็ก) จ.ตราด ซึ่ง พลอากาศตรี จิรชัย ผุดผ่อง รองเจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม เป็นหัวหน้าโครงการ

         พลอากาศตรี จิรชัย กล่าวว่าโครงการวิจัยและพัฒนาระบบตรวจจับการบุกรุกตามแนวชายแดนด้วยเซ็นเซอร์ตรวจวัดการสั่นสะเทือน และเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวแบบอัตโนมัติ เป็นเทคโนโลยีป้องกันการข้ามแดนผิดกฎหมายโดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ ซึ่งใช้งานง่าย ควบคุมพื้นที่เข้าถึงยาก ลดปริมาณกำลังทหารตรวจแนวชายแดน พัฒนาระบบโดยใช้โครงข่ายสื่อสารระยะไกลที่กินพลังงานต่ำ ใช้เซ็นเซอร์วัดการสั่นสะเทือนและเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวแบบอัตโนมัติ ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นทั้งกับชีวิตและทรัพย์สิน ระบบเซ็นเซอร์จะทำงานคล้ายกับการนำหูแนบพื้นดิน ที่ตรวจจับ คัดกรองเสียงหรือความถี่ในการสั่นสะเทือนของก้าวเดินมนุษย์ที่มีความแตกต่างจากสัตว์หรือการเคลื่อนไหวอื่น ๆ ได้ คาดหวังว่าประชาชนจะมีความสงบ ปลอดภัย และเป็นประโยชน์สูงสุดกับประเทศต่อไป

         วช.ได้สนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566 แผนงานพัฒนานโยบายและต้นแบบเพื่อสร้างสังคมไทยไร้ความรุนแรง ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งสวัสดิภาพสาธารณะในการดำรงชีวิต โดยใช้การวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม สังคมไทยไร้ความรุนแรงและอยู่รวมกันอย่างสันติ การลงพื้นที่ติดตาม ประเมินผล ร่วมสังเกตการณ์การสาธิตการใช้งานในครั้งนี้ เพื่อนำผลงานวิจัยมาใช้ประโยชน์ และนำข้อบกพร่องมาแก้ไขให้เซ็นเซอร์ตรวจวัดการสั่นสะเทือน และเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวอัตโนมัติใช้งานได้ในระยะที่ไกลขึ้น แม่นยำมากขึ้น เพื่อให้การเฝ้าตรวจแนวชายแดนมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

รศ.ดร.ยงยุทธ กล่าวว่า งานวิจัยมีการพัฒนาระบบตรวจจับการบุกรุกตามแนวชายแดนให้มีความทนทานและทันสมัยขึ้น โดยการวิเคราะห์ลักษณะภูมิประเทศ กำหนดพื้นที่วิจัยสำหรับการออกแบบ วางระบบ ออกแบบ ติดตั้งโครงข่ายสื่อสารสำหรับเฝ้าตรวจแนวชายแดนที่เหมาะสมกับลักษณะภูมิประเทศของไทย พร้อมกับการพัฒนาระบบการแจ้งเตือนภัยความมั่นคง ใช้โครงข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ เป็นหนึ่งในโครงการที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในอนาคต

น.ส.สตตกมล กล่าวโครงการนี้วช. สนับสนุนกับกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหมนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ ลดปัญหาการข้ามแดนผิดกฎหมาย สร้างความมั่นคงให้แก่ประชาชนและประเทศชาติ และพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อไป

ข่าวอัพเดท

สวทช. โชว์แพลตฟอร์ม LEAD EducationสอนAIได้ผล

สวทช. โชว์แพลตฟอร์ม LEAD EducationสอนAIได้ผล

วันจันทร์ ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2568

มรภ.อุตรดิตถ์ ดันข้อต่อใหม่ บ.มะขามสามเกลอสู่ตลาดมูลค่าสูง

มรภ.อุตรดิตถ์ ดันข้อต่อใหม่ บ.มะขามสามเกลอสู่ตลาดมูลค่าสูง

วันจันทร์ ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2568

เซ็นทรัล หาดใหญ่ จัดงาน “Hatyai Pride for All” ฉลองเดือนแห่งความเท่าเทียม เปิดโอกาสให้ทุกเพศสภาพแสดงออกได้อย่างอิสระ

เซ็นทรัล หาดใหญ่ จัดงาน “Hatyai Pride for All” ฉลองเดือนแห่งความเท่าเทียม เปิดโอกาสให้ทุกเพศสภาพแสดงออกได้อย่างอิสระ

วันจันทร์ ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2568

โครงการเยาวชนไทยในสหรัฐฯ นำ 200 คน เยือนแผ่นดินแม่

โครงการเยาวชนไทยในสหรัฐฯ นำ 200 คน เยือนแผ่นดินแม่

วันจันทร์ ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2568

ฝนหนักน่าน เชียงรายอ่วม ปภ. Cell Broadcastเตือน

ฝนหนักน่าน เชียงรายอ่วม ปภ. Cell Broadcastเตือน

วันเสาร์ ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2568

DPU เปิดเคล็ดลับธุรกิจอาหารรอดได้รวยให้เป็น

DPU เปิดเคล็ดลับธุรกิจอาหารรอดได้รวยให้เป็น

วันพฤหัส ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2568

CE-7 MATCH คว้ารางวัลพระราชทาน Platinum Award สุดยอดงานวิจัยนวัตกรรม

CE-7 MATCH คว้ารางวัลพระราชทาน Platinum Award สุดยอดงานวิจัยนวัตกรรม

วันพฤหัส ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2568

ข่าวที่เกี่ยวข้อง