เต็มตา..12P/Pons-Brooks ภาพดาวหางฝีมือคนไทย

วันอังคาร ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2567

การดู : 512

เต็มตา..12P/Pons-Brooks ภาพดาวหางฝีมือคนไทย

แชร์ :

          สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เผยภาพดาวหาง 12P/Pons-Brooks ฝีมือคนไทยบันทึกช่วงหัวค่ำวันที่ 11 มีนาคม2567 จากดอยอินทนนท์ อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่

ในช่วงนี้ดาวหางปรากฏในช่วงหัวค่ำหลังดวงอาทิตย์ตก อยู่บริเวณกลุ่มดาวแอนโดรเมดา(Andromeda) ทางขอบฟ้าทิศตะวันตก ขณะดวงอาทิตย์กำลังตกลับขอบฟ้า ดาวหางมีมุมเงยเพียงประมาณ12 องศาเท่านั้น จึงปรากฏอยู่บนท้องฟ้าไม่นานก่อนจะตกลับขอบฟ้าตามดวงอาทิตย์ไป ประกอบกับช่วงมีมลภาวะในชั้นบรรยากาศ หลังจากนี้จะมีแสงจันทร์รบกวนยาวไปจนถึงวันที่ 27 มีนาคม 2567อาจจะสังเกตสังเกตด้วยตาเปล่าได้ค่อนข้างยาก

          ดาวหาง 12P/Pons-Brooks กำลังโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ปลายเดือนมีนาคมจะค่อย ๆเปลี่ยนตำแหน่งเคลื่อนไปยังกลุ่มดาวแกะ (Aries) ปลายเดือนเมษายน และจะเคลื่อนไปสู่กลุ่มดาววัว (Taurus)และจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดวันที่ 23 เมษายน 2567อาจมีความสว่างเพิ่มขึ้นจนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าบนท้องฟ้าตอนกลางคืนนับเป็นหนึ่งในดาวหางที่น่าติดตามในช่วงต้นปีนี้

ดาวหาง 12P/Pons-Brooks จัดเป็นดาวหางประเภทเดียวกันกับดาวหางฮัลเลย์ (1P/Halley)กล่าวคือมีคาบการโคจรโคจรรอบดวงอาทิตย์ 71 ปี จึงจัดอยู่ในดาวหางประเภท ดาวหางคาบสั้น (Periodic comet) ค้นพบครั้งแรกโดย Jean-Louis Pons นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1812และค้นพบซ้ำอีกครั้งในปี 1883 โดย William Robert Brooks นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันจึงเป็นที่มาของชื่อดาวหาง 12P/Pons-Brooks

 

ข้อมูลเกี่ยวกับดาวหางเพิ่มเติม

https://www.facebook.com/share/p/iNDemcXje8gnHDhi/?mibextid=WC7FNe

ข่าวที่เกี่ยวข้อง