รัฐเอกชนร่วมปั้นนวัตกรรมบุคลากรสู่ฮับการบินEEC

วันอาทิตย์ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

การดู : 250

รัฐเอกชนร่วมปั้นนวัตกรรมบุคลากรสู่ฮับการบินEEC

แชร์ :

7 หน่วยงาน 4 กระทรวง เอกชน MOU พัฒนาบุคลากรปั้นนวัตกรรม สตาร์ตอัพ อุตสาหกรรมอากาศยาน พร้อมรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ มุ่งเป็นศูนย์กลางการบินภูมิภาค

ข่าวแจ้งว่า ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU)ความร่วมมือเรื่องการพัฒนาบุคลากรและนวัตกรรมด้านการบินของ 7หน่วยงานจาก4กระทรวง ได้แก่ 1.สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) 2.สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 3.หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) 4.หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

5.บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) กระทรวงคมนาคม 6.สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กระทรวงอุตสาหกรรม 7.สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) (สคช.) สำนักนายกรัฐมนตรี จัดขึ้นที่ห้องประชุมเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor of Innovation (EECi) วังจันทร์วัลเลย์ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง เมื่อวันที่17พค.67  เพื่อเป็นเครือข่ายการพัฒนานวัตกรรมการบินและการพัฒนาบุคลากรระดับอุดมศึกษา เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านการบินแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Hub of Aviation)

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ส.อ.ท. กล่าวว่า ... มีความพร้อมในความร่วมมือการพัฒนาบุคลากรและนวัตกรรมด้านการบิน หรือ NGAP-Digital transformation สอดคล้องกับนโยบาย ส... ที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเดิม ทั้ง 46 กลุ่มอุตสาหกรรม 11 คลัสเตอร์ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด 5 สภาอุตสาหกรรมภาค ยกระดับขีดความสามารถการแข่งขัน ไปสู่อุตสาหกรรมใหม่หรืออุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Next-GEN Industries) หนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ ส... ขับเคลื่อน คือ อุตสาหกรรมการบินและอากาศยาน

เกรียงไกร เธียรนุกุล

... มีแผนจัดตั้งกลุ่มอุตสาหกรรมการบินและอากาศยาน เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ด้วยกลไก Cluster of FTI Future Mobility-ONE (CFM-ONE) และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดในพื้นที่ EEC การใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มส... อาทิ FTI Academy และสถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถมนุษย์ เพื่อยกระดับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมเพิ่มพูนทักษะที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรม และเตรียมความพร้อมรองรับ Future Skill กับอุตสาหกรรมสมัยใหม่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการบิน

น.ส.จุลลดา มีจุล ผอ.สคช. กล่าวว่า สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ จะร่วมพัฒนาการรับรองคุณวุฒิหรือรับรองสมรรถนะของบุคลากร และสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการบินทุกมิติ โดยจะรับรองทักษะสมรรถนะสูง สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านการบินและงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น Big Data Analytic, Machine Learning, Data Science, Data Engineer ในอุตสาหกรรมการบินด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมเป็นโซ่ข้อกลางประสานกับภาคการศึกษา เพื่อการรับรองการเรียนรู้ และเทียบโอนผ่านระบบธนาคารหน่วยกิต (Credit bank) ซึ่งจะทำให้เกิดการรับรองสมรรถนะในระดับนานาชาติ (International Certification) ควบคู่กับการได้รับคุณวุฒิทางการศึกษา การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพในอาชีพสมรรถนะสูงของ สคช. จะยกระดับอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ พัฒนาสู่มหานครการบินภาคตะวันออก (Aerotropolis) ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินและประตูเศรษฐกิจสู่เอเชีย

จุลลดา มีจุล

ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผอ. สอวช. กล่าวว่า สอวช., บพข. และ บพค. จะร่วมกันพัฒนาวัตกรรม บุคลากรสมรรถนะสูงสองกลุ่ม คือ กลุ่มวิศวกร และกลุ่มที่ Spinoff (การแยกตัวธุรกิจออกไป) ในรูปบริษัทเจ้าของเทคโนโลยี เพื่อผลิตเทคโนโลยีให้กับ บวท. และต่างประเทศ โดยมีนวัตกรรมที่เป็นของคนไทย สร้างธุรกิจฐานนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise: IDE) และสร้างบุคลากรสมรรถนะสูงเข้าสู่อุตสาหกรรมการบิน

 ศ.ดร. ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผอ.สวทช. กล่าวว่า EECi เป็น โครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรมที่สำคัญของประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) การเข้าร่วมเป็นภาคีของบันทึกความเข้าใจในครั้งนี้ เปิดโอกาสให้นักวิจัยของ สวทช. ได้ร่วมพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมด้านการบิน สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและอุตสาหกรรม เช่น Testbed การพัฒนาหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ ระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ Additive Manufacturing Testbed ภายในศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) สนามทดสอบอากาศยานไร้คนขับ (UAV Sandbox) ที่จะช่วยขยายผลการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบินให้รุดหน้า

รศ.ดร. ธงชัย สุวรรณสิชณน์ ผอ.บพข. กล่าวว่า การร่วมมือครั้งนี้ เพื่อผลักดันให้เกิดความสำเร็จตามระดับที่คาดหวัง เกิดการต่อยอดต้นแบบนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์จริงในเชิงพาณิชย์ในธุรกิจการบิน หรือขยายผลสู่การจัดตั้งบริษัทสตาร์ทอัพ (Startup)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง