พม.ขยายผล มจธ.ฝึกอาชีพจ้างคนพิการทำงานจริงจัง
วันศุกร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
การดู : 223
แชร์ :
พม. หนุน โมเดลการฝึกอบรมฝึกงานคนพิการ มจธ.ขยายผลจับมือ 5 มหาวิทยาลัยเครือข่าย นำร่อง ร่วมพัฒนาศักยภาพคนพิการเพื่อการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืน วราวุธ ศิลปอาชา จะขอหน่วยงานรัฐจัดงบประมาณเข้ากองทุนแทนการจ้างงานคนพิการเหมือนภาคเอกชน
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าจนบุรี (มจธ.) และมหาวิทยาลัยเครือข่าย 5 แห่ง ได้เปิดตัวโครงการการขยายผลเครือข่ายอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาศักยภาพคนพิการเพื่อการ ประกอบอาชีพ ผ่านการฝึกอบรม ฝึกงานคนพิการ มจร. ที่ห้อง Auditorum forum ชั้น 7 มีนายวราววุธ ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธาน เมื่อวันที่ 9 พค.67
รศ. ดร.สุวิทย์ แซ่เดีย อธิการบดี มจธ กล่าวว่า โครงการฝึกอบรม ฝึกงานคนพิการ มจธ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 57 โดยกลไกตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนพิการ พ.ศ.2550 มาตรา 35 ในการขับเคลื่อนฝึกอบรม ฝึกงาน เตรียมความพร้อมคนพิการเข้าสู่การทำงานในสถานประกอบการและ มีอาชีพเลี้ยงตัวเอง มี 4 หลักสูตร คือหลักสูตรเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงาน หลักสูตรผู้ทดสอบทางประสาทสัมผัสสำหรับคนพิการทางสายตา หลักสูตรการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัล และหลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมท้องถิ่น การดำเนินงานมากว่า 10 ปี จนถึงปัจจุบัน มีผู้สำเร็จจากการอบรมตามโครงการทั้งสิ้น 10 รุ่น กว่า 398 คนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และร้อยละ 50 ของผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงาน ได้รับการจ้างงานเข้าทำงานในสถานประกอบการจริง
รศ. ดร.สุวิทย์ กล่าวว่า เมื่อเดือน ตค.66 ได้จัดกิจกรรมครบรอบ 10 ปีการฝึกอบรมคนพิการ ซึ่งนายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.กระทรวง พม.รับทราบโมเดลการทำงานของ มจธ. และแนะนำให้ชักชวนมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในภูมิภาค ที่มีศักยภาพมาร่วมกันขยายผล สอดคล้องกับแนวคิดของ มจธ จึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยอีก 5 แห่ง ร่วมเป็นเครือข่ายประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณ ทหารลาดกระบัง ในโครงการการขยายผลเครือข่ายอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาศักยภาพคนพิการเพื่อการประกอบอาชีพ ผ่านการฝึกอบรม ฝึกงานคนพิการ มจธ. โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ ชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มาตรา 34 เป็นเงินจำนวนกว่า 23,000,000 บาท สำหรับจัดอบรมและฝึกงานคนพิการรุ่นที่ 1 รวมทั้งสิ้น 300 คน เริ่มตั้งแต่เดือน เมย. 67 - 31 มีค. 68 เป็นเวลา 1 ปี
นายวราวุธ กล่าวว่า จากที่ได้มาร่วมกิจกรรมครบ 10 ปีการฝึกอาชีพคนพิการในปีที่ผ่านมา เห็นโมเดลที่ได้ผล จึงเป็นแรงบันดาลใจและขอขยายผลไปยังมหาวิทยาลัยและภูมิภาคต่างๆขยายความร่วมมือไปยังกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม(อว.) กระทรวงศึกษาธิการ เชื่อว่าภาคเอกชนต้องการทักษะฝีมืออีกมากมาย ทักษะฝีมือเหล่านี้ซ่อนอยู่ในพี่น้องคนพิการกว่าล้านชีวิตในประเทศไทย หน้าที่ของภาครัฐ คือจะนำศักยภาพนั้นมาเป็นประโยชน์พัฒนาประเทศอย่างไร โดยการคํานวณหลักสูตรแต่ละมหาวิทยาลัยก็ควรจัดการฝึกให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ต่างๆ การที่ขอให้ขยายโครงการไปยังภูมิภาคต่างๆ ก็เพื่อที่คนพิการทั่วประเทศจะได้ทำงานในภูมิลำเนาของตน โดยเป้าหมายปลายทางคือให้มหาวิทยาลัยทั่วประเทศเป็นแหล่งฝึกอบรม ส่วนแหล่งงานนั้นเชื่อว่ามหาวิทยาลัยทำงานกับภาคเอกชนอยู่แล้ว เพียงแต่เพิ่มอีกมิติหนึ่ง นอกจากงานปกติ โดยภาคเอกชนแจ้งความจำนงว่าสามารถรองรับคนพิการทำงานได้อย่างไร เพราะต้องมีการเตรียมการ มีความพร้อมด้านอาคารสถานที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ ทั้งคนพิการทางการเห็นหรือมนุุษย์ล้อ
ต่อประเด็นที่มีรายงานว่า หน่วยงานของรัฐมีอัตราการจ้างงานคนพิการ ต่ำมาก เพียง 15.24 % ขณะที่สถานประกอบการเอกชน มีสัดส่วนการจ้างเฉลี่ย 91.15% นายวราวุุธ กล่าวว่า การจ้างงานคนพิการของภาคเอกชน มีกฎหมาย ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการวางหลักไว้ ในมาตรา 33.34,35 แต่ภาครัฐยังไม่ได้มีการบังคับ ก็มีการขอความร่วมมือ แต่ไม่มีบทลงโทษ ปัจจุบันมีเพียงแค่ 3 กระทรวง ที่มีการจ้างงานคนพิการ ยังมีอีกหลายกระทรวง ที่กําลังหารือกันว่าจะขอให้มีการสนับสนุนงบประมาณแบบมาตรา 34 ได้หรือไม่ เพราะกระทรวง พม. งบประมาณค่อนข้างน้อย จะขอปรับกระทรวงอื่น เอางบประมาณมาให้กระทรวง พม.ดำเนินการ
ทั้งนี้พ.ศ.2550 มาตรา 33 ว่าด้วยการจ้างงานคนพิการ ใจความว่า สถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐต้องรับคนพิการที่สามารถทำงานได้ เข้าทางานในสถานประกอบการโดยเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยคุ้มครองแรงงานหรือหน่วยงานของรัฐ เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนด
มาตรา 34 ว่าด้วยการส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ใจความว่า นายจ้างหรือเจ้าของส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการเป็นรายปี หน่วยงานของรัฐไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนฯ
มาตรา 35 ว่าด้วยการเสริมอาชีพให้คนพิการ ใจความว่า นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการให้สัมปทานตามมาตรา 35โดยยื่นขอใช้สิทธิ ต่อกรมการจัดหางานหรือจัดหางานจังหวัดที่ สานักงานใหญ่ของสถานประกอบการตั้งอยู่หรือหน่วยงานของรัฐนั้น
รายงานข่าวแจ้งว่า สถานประกอบการสามารถใช้วิธีการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการ มาตรา 34 แทนการจ้างงานคนพิการได้ เหตุผลส่วนหนึ่งของการเลือกใช้ มาตรา 34 เพราะสถานประกอบการ ขาดความพร้อมด้านสถานที่ในการรองรับการทำงานและการใช้ชีวิตของคนพิการ โดยผู้ประกอบการไม่มั่นใจใน คุณสมบัติของคนพิการว่าจะสอดคล้องกับความต้องการ หรือมีทักษะที่เหมาะกับการทำงานในสถานประกอบการ หรือไม่ โดยรายงานของ มจธ. ระบุว่า การพัฒนาศักยภาพของคนพิการและการเตรียมความพร้อมคนพิการเข้าสู่สถานประกอบการ รวมทั้งการ สร้างอาชีพอิสระหรือสร้างรายได้ให้กับคนพิการจึงควรเป็นบทบาทของภาครัฐและหน่วยงานที่รับผิดขอบหลัก โดยใช้ ประสบการณ์และความรู้ในหน่วยงาน เช่น สถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมีความพร้อมทางด้านต่างๆ ทั้งบุคลากร องค์ความรู้
ผศ.ดร.ชัยณรงค์ เหลืองวิลัย ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมีโครงการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการอยู่แล้ว โดยไม่เจาะจงกลุ่มอุตสาหกรรม ขึ้นกับความสนใจนักศึกษาอยากทำเรื่องใด มหาวิทยาลัย จะเปิดโอกาสให้ทดลองพร้อมกับจัดอบรมตามความต้องการและสนับสนุนให้ประกอบการได้ สำหรับคนพิการ จะเริ่มที่ให้นักศึกษาพิการ ซึ่งมีราวปีละ 50คน ส่วนบุคคลภายนอก อาจเป็นระยะต่อไป
รศ.นสพ.ดร.ชูชาติ กมลเลิศ ผอ.สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า โรงพยาบาลน้ำพอง จ.ขอนแก่น และโรงพยาบาลอุบลรัตน์ มีระบบการฝึกอาชีพและรับคนพิการเข้าทำงานอยู่แล้ว ทางมหาวิทยาลัยจะศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และตั้งเป้าหมายว่าจะร่วมกับกระทรวง พม. และประสานงานกับสมาคมพัฒนาศักยภาพคนพิการ เพื่อฝึกอบรมคนพิการราวปีละ100คน ขณะที่มหาวิทยาลัยมีหน่วยงานถึง 19 คณะ5วิทยาลัย
ข่าวอัพเดท