จัดสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ 18 หัวข้อ "แนวโน้มใหม่และเทคนิคในโลกคอนเทนต์- New Trend New Tech in Content Industries"
วันเสาร์ ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
การดู : 97
แชร์ :
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ 18 หัวข้อ "แนวโน้มใหม่และเทคนิคในโลกคอนเทนต์- New Trend New Tech in Content Industries" เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2567 ที่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
นายจุมพล กล่าวว่า สำหรับ AI ถือว่าเข้าได้เข้ามาดิสรัปชันโดยตรง ปัจจุบันเป็นการแข่งขันเรื่องทรัพยากร เวลา และความแตกต่าง ที่ผ่านมาคนข่าวหรือคนทำคอนเทนต์มักจะเจอเรื่องคนขาด เจอเรื่องระบบเวลา และคุณภาพของงาน แต่หากนำ AI มาใช้ก็คิดว่า สังคมจะมองได้ว่า AI มาช่วยเรื่องวิเคราะห์ข้อมูล และช่วยตอบโจทย์คนรับสารได้ตรงเวลา เช่น แผ่นดินไหวญี่ปุ่นก็มี AI เป็นตัวจับ และส่งข้อความแจ้งเตือนไปถึงคนเหล่านี้โดยที่นักข่าวไม่ต้องจับอะไรเลย
นายจุมพล กล่าวต่อว่า ปัจจุบันมีการตรวจสอบกันพบว่าเราเลื่อนจอเพื่อดูคอนเทนต์ใช้เวลาเฉลี่ย 1.6 วินาทีถือว่าสั้นมาก เพราะหากเป็นเรื่องที่คนไม่สนใจก็ผ่านไปเลย แต่เมื่อ AI เข้ามาใช้ก็จะช่วยเสนอคอนเทนต์ในสิ่งที่ผู้ใช้งานต้องการมากขึ้น อย่างสำนักข่าว Reuters ร่วมมือกับ Google พัฒนาระบบ Fact-checkin กับความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งระบบนี้สามารถช่วยลดต้นทุนการจ้างนักข่าว ส่วนสำนักข่าว The New York Times ก็ร่วมมือกับ IBM Watson พัฒนาระบบที่เลือกสรรโฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของผู้ชม หรือบริษัท NewSGred ให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารที่ซับซ้อนและยากต่อการเข้าใจ
นายจุมพล กล่าวอีกว่า เครื่องมือ Al รูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำมาใช้ในกระบวนการการทำข่าวมีหลายประเภท เช่น 1.Natural Language Processing เป็น AI ที่ช่วยในการวิเคราะห์และประมวลผลภาษาธรรมชาติ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในกระบวนการทำข่าวได้หลากหลาย เช่น การวิเคราะห์เนื้อหาข่าวเพื่อระบุประเด็นสำคัญ การแปลภาษา หรือการเขียนข่าวอัตโนมัติ
2.Machine Learning เป็น Al ที่ช่วยเรียนรู้และปรับปรุงประสิทธิภาพจากข้อมูล ซึ่งสามารถนำมาใช้ในกระบวนการทำข่าวได้ เช่น การกรองข่าวปลอม การติดตามความเคลื่อนไหวของข่าวสาร หรือการสร้างคอนเทนต์ข่าวรูปแบบใหม่ๆ
3.Computer Vision เป็น AI ที่ช่วยในการวิเคราะห์และประมวลผลภาพ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในกระบวนการทำข่าวได้ เช่น การระบุใบหน้า การจดจำวัตถุ หรือการแปลภาษาผ่านภาพ
มนุษย์ต้องกรองไม้สุดท้าย
นายจุมพล กล่าวต่อว่า แต่ Al อาจไม่สามารถเข้าใจบริบทข้อมูลข่าวสารได้อย่างลึกซึ้งเทียบเท่ามนุษย์ ซึ่งอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดหรือนำเสนอข่าวที่บิดเบือนได้ หรือตอนนี้ AI ก็ยังไม่สามารถสร้างเนื้อหาข่าวที่สร้างสรรค์หรือมีเสน่ห์ดึงดูดใจเทียบเท่ากับมนุษย์ ดังนั้น คนข่าวจึงต้องทำงานร่วมกับ AI อย่างรอบคอบและระมัดระวัง และควรตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลที่ AI ได้ประมวลผลไว้อย่างละเอีอดรอบคอบ และคิดว่าเรื่อง AI ต้องทำให้มนุษย์เป็นผู้คัดกรองไม้สุดท้ายเสมอ
ข่าวอัพเดท