องุ่นไซมัสคัสปลูกในไทยบริโภคปลอดภัยกว่า
วันจันทร์ ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
การดู : 212

แชร์ :
รศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท นักวิจัยผู้นำเทคนิคการปลูกองุ่นไซมัสคัสในไทย เตือนผู้บริโภคระวังการซื้อองุ่นนำเข้า แนะอุดหนุนเกษตรกรในประเทศ เพื่อความปลอดภัย สนับสนุนเศรษฐกิจท้องถิ่น

รศ. ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท ผอ.ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลไม้ คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งเป็นนักวิจัยที่ได้ศึกษา นำเทคนิคการปลูก บำรุงรักษา จากประเทศญี่ปุ่น มาถ่ายทอดกับเกษตรกรไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ตั้งแต่ปี 2562 ได้ออกคำแนะนำข้อควรระวังแก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อองุ่นไซมัสคัสที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยให้อุดหนุนองุ่นที่ผลิตโดยเกษตรกรในประเทศ จะลดความเสี่ยงจากสารเคมีตกค้างและเป็นการสนับสนุนเศรษฐกิจในท้องถิ่นด้วย
รศ.ดร.พีระศักดิ์ระบุว่า องุ่นไซมัสคัสจากต่างประเทศ มักผ่านกระบวนการหลังการเก็บเกี่ยวและการขนส่งเป็นเวลานาน มีโอกาสที่จะมีสารเคมียืดอายุการเก็บรักษา อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพผู้บริโภค ขณะที่องุ่นไซมัสคัสที่ปลูกโดยเกษตรกรในประเทศ ซึ่งใช้กระบวนการที่มีการควบคุมคุณภาพ ช่วยสนับสนุนรายได้ให้แก่เกษตรกรท้องถิ่น เป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรไทยมีรายได้ที่มั่นคงผลิตผลไม้ที่มีคุณภาพปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง
คำแนะนำในการเลือกซื้อองุ่นไซมัสคัสอย่างปลอดภัย ระบุว่า 1. อุดหนุนผลผลิตในประเทศ เลือกซื้อองุ่นไซมัสคัสที่ปลูกในไทย เพื่อสนับสนุนเกษตรกรในประเทศ ซึ่งจะมั่นใจได้ในกระบวนการปลูกและดูแลที่ปลอดภัย โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่ได้การรับรอง GAP จากกรมวิชาการเกษตรและฝึกอบรมจากมหาวิทยาลัยนเรศวร 2. เลือกซื้อองุ่นจากร้านที่แสดงข้อมูลแหล่งที่มาและกระบวนการผลิตชัดเจน 3.พิจารณาตรารับรองคุณภาพ เช่น มาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practice) หรือการรับรองจากหน่วยงานภาครัฐที่ยืนยันถึงความปลอดภัย4. ล้างให้สะอาดก่อนบริโภค ด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง หรือน้ำเกลือเพื่อช่วยลดสารเคมีตกค้าง
รศ.ดร.พีระศักดิ์ กล่าวถึงการบริโภคองุ่นที่มีสารเคมีตกค้าง อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร หรืออาการแพ้ เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาการผิดปกติอื่น ๆ การเลือกซื้อผลไม้จากแหล่งที่เชื่อถือได้และการล้างให้สะอาดจะช่วยลดความเสี่ยงได้
ข่าวอัพเดท

มจธ. แนะตรวจอาคารเบื้องต้น ลดเสี่ยงระยะยาว
วันพฤหัส ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2568

มทร.ธัญบุรี นำ9 ราชมงคลร่วมใจ สืบสานวัฒนธรรมไทย
วันพุธ ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2568

เจาะลึกเทคโนฯนวัตกรรม ววน. รับภัยพิบัติในอนาคต
วันอังคาร ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2568

วิจัยพบกรุงเทพฯอยู่ในวงล้อม3แหล่งแผ่นดินไหว
วันอาทิตย์ ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2568

ชี้3จุดสังเกตตึกถล่มเผชิญคลื่นแผ่นดินไหวดันดินอ่อน
วันเสาร์ ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2568

2 ช่องทางขอตรวจอาคารแผ่นดินไหว กทม. – กรมโยธา
วันศุกร์ ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568
