เปิดนวัตกรรมป้องกันเด็ก-เยาวชนทำผิดซ้ำ
วันเสาร์ ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2567
การดู : 409

แชร์ :
คณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ เปิดนวัตกรรมป้องกันเด็ก-เยาวชนทำผิดอาญาซ้ำ ทำแอปพลิเคชันให้เลือกทำงาน ขอผู้ประกอบการเลิกตีตรา นำเทคโนโลยีตรวจสารเสพติดในเส้นผมที่ดูผลย้อนหลังได้แม้ผ่านมาแล้วสามเดือน

ผศ.พ.ต.อ.ดร.ธิติ มหาเจริญ รองคณบดีคณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ เปิดเผยถึงนวัตกรรมการเปลี่ยนแปลงการอำนวยความยุติธรรม สำหรับเด็กและเยาวชน เพื่อการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ ส่งเสริมการดำเนินชีวิตของเด็กและเยาวชนที่เคยกระทำความผิด ด้วยเทคโนโลยียุติธรรมอัจฉริยะ การเสริมพันธะทางสังคมด้วยภาคีเครือข่าย และแก้ไขการตีตราด้วยยุติธรรมทางเลือก

ผศ.พ.ต.อ.ดร.ธิติ กล่าวว่า นวัตกรรมการตรวจสารเสพติดในเส้นผม เป็นสิ่งที่มีใช้กันอยู่ ให้ผลการตรวจย้อนหลังได้ค่อนข้างแม่นยำ โดยสารเสพติดจะคงค้างในเส้นผม (Cortex) ส่วนที่หนาที่สุด แหล่งรวมของเม็ดสี ทางโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ทำระบบ E learning ให้บุคลากร ผู้สนใจเรียนรู้ได้ ทั้งนี้ มีรายงานว่า การตรวจสารเสพติดในเด็กและเยาวชน 157 ครั้ง พบสารเสพติด 12 ครั้ง หรือร้อยละ 7.6 ขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างประกาศกระทรวงยุติธรรม เพิ่มเติมการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดในเส้นผม และได้นำร่องใช้กับคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมในระบบศาล จัดทําร่าง MOU ระหว่างสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กับ สำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 1 ปัจจุบันมีแหล่งเรียนรู้ด้านการตรวจสารเสพติด จากเส้นผมแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เผยแพร่บนเว็บไซต์ E-learning.cifs.go.th หรือกลุ่มตรวจพิสูจน์ทางเคมี กองตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 1 ระยอง (ในอนาคต) ทั้งนี้นวัตกรรมการตรวจสารเสพติดในเส้นผมเพื่อป้องกันการกระทำผิดความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน
ผศ.พ.ต.อ.ดร.ธิติ กล่าวว่า สำหรับเทคโนโลยียุติธรรมอัจฉริยะ เป็นการออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันสื่อกลางการสร้างโอกาสทางอาชีพสำหรับเด็กและเยาวชน โดยได้ขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการให้รับเด็กเข้าทำงานจำนวน 8 คน ผ่านมาแล้ว ประมาณ 1ปี ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤตินิสัย หลังจากมีรายได้ เด็กและเยาวชนเข้าได้กับเพื่อนร่วมงานอย่างดี โดยงานที่ทำแล้วมีทั้งพนักงานขายวัสดุก่อสร้าง โรงงานเหล็กและสปา การหางานทำผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ ที่เมนูการเลือกงานทำได้ง่าย

ส่วนการเสริมพันธะทางสังคมด้วยภาคีเครือข่าย เป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ของเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันการกระทำผิด และก่อปัญหาสังคม การประเมินผลสำเร็จของการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือการส่งเสริมอาชีพที่เคยกระทำความผิดระหว่างหน่วยงานรัฐและเครือข่ายภาคเอกชน มีการให้คำปรึกษาระบบพี่เลี้ยง ประกอบด้วยนักจิตวิทยาและนักเรียนนายร้อยตำรวจซึ่งอยู่ในวัยใกล้เคียงกับเด็กและเยาวชน
ด้านการแก้ไขการตีตราด้วยยุติธรรมทางเลือก เป็นการทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชน ที่กระทำผิดซ้ำในคดีอาญาด้วยกระบวนการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาท การพัฒนาความร่วมมือทางกฎหมายระหว่างภาครัฐและเอกชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหา การกระทำความผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน ในคดียาเสพติดภายหลังการปล่อยตัว
มีรายงานว่า จำนวนเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด ถูกดำเนินคดีราวปีละ 12,000 รายและมีโอกาสกลับมากระทำซ้ำราวครึ่งหนึ่ง
ข่าวอัพเดท

มทร.ธัญบุรี นำ9 ราชมงคลร่วมใจ สืบสานวัฒนธรรมไทย
วันพุธ ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2568

เจาะลึกเทคโนฯนวัตกรรม ววน. รับภัยพิบัติในอนาคต
วันอังคาร ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2568

วิจัยพบกรุงเทพฯอยู่ในวงล้อม3แหล่งแผ่นดินไหว
วันอาทิตย์ ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2568

ชี้3จุดสังเกตตึกถล่มเผชิญคลื่นแผ่นดินไหวดันดินอ่อน
วันเสาร์ ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2568

2 ช่องทางขอตรวจอาคารแผ่นดินไหว กทม. – กรมโยธา
วันศุกร์ ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568

นายกสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยฯ ร่วมยินดี 61 ปีเดลินิวส์
วันศุกร์ ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568
