เตรียมการ..พยุหยาตราทางชลมารค

วันพุธ ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2567

การดู : 724

เตรียมการ..พยุหยาตราทางชลมารค

แชร์ :

ทัพเรือซ้อมเข้มฝีพายเรือพระราชพิธี  ควบคู่การซ่อม ตกแต่งเรือโดยกรมศิลปากร ในงานสำคัญ พยุหยาตราทางชลมารค ในพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามวันที่ 27 ตุลาคม 2567ครั้งนี้มีเรือ พระราชพิธี ทั้งสิ้น 52 ลำ ยาว 1,200 เมตร  กำลังพลประจำเรือ  2,200 นาย ล่าสุดรองเสธ.ทร. ตรวจเยี่ยมกำลังพลฝีพายระหว่างฝึกบนเขียงฝึก

   รายงานข่าวจากกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ แจ้งว่า เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 เวลา 09.00 น. พลเรือโท วิจิตร  ตันประภา รองเสนาธิการทหารเรือ  ประธานคณะกรรมการจัดเตรียมความพร้อมขบวนเรือพระราชพิธี  เดินทางไปตรวจเยี่ยมการฝึกซ้อมกำลังพลฝีพายขบวนเรือพระราชพิธี ที่อยู่ระหว่างการฝึกซ้อมในพื้นที่ส่วนบัญชาการกองทัพเรือวังนันทอุทยาน จำนวน 449 นาย เป็นกำลังพลฝีพายประจำเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณประจำรัชกาลที่ 9 เรืออสุรวายุภักษ์ เรือครุฑเตร็จไตรจักร เรือกระบี่ราญรอนราพณ์ เรืออีเหลือง เรือแตงโม เรือดั้ง 21 เรือดั้ง 9 เรือดั้ง 16 และเรือดั้ง 12  

   ประธานคณะกรรมการเตรียมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคได้ให้โอวาทแก่กำลังพลโดยมีใจความสำคัญว่า พวกท่านทุกนายคงทราบถึงภารกิจครั้งสำคัญ ในการเตรียมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารในวันที่ 27 ตุลาคม 2567 นับว่าเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่งของกองทัพเรือที่ได้รับความไว้วาง พระราชหฤทัยในการจัดเตรียมขบวนเรือพระราชพิธีถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสต่าง ๆ ดังนั้นพวกเราทุกคนซึ่งต้องทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมเรือ นายเรือ นายท้าย และฝีพายประจำเรือ จะทุ่มเทแรงกายแรงใจตั้งใจฝึกซ้อมอย่างเต็มกำลังความสามารถ การตรวจเยี่ยมการฝึกวันนี้ ได้ทราบความก้าวหน้าในการฝึก แนวทางรูปแบบการฝึกที่ถูกต้องตามโบราณราชประเพณี ที่มีความสง่างามและสมพระเกียรติ ตอนนี้เหลือเวลาฝึกอีกไม่นานแล้ว ขอให้พวกท่านได้ทุ่มเทให้กับการฝึก 

   สำหรับฝึกซ้อม ฝีพายบนเขียงเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมความพร้อมกำลังพลในการจัดขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค ในพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามในวันที่ 27 ตุลาคม 2567    ประกอบด้วย

  การฝึกครูฝึกฝีพาย ระหว่าง 12 กุมภาพันธ์ – 8 มีนาคม 2567 รวม 20 วันงาน

  การฝึกฝีพายบนเขียง ระหว่าง 18 มีนาคม – 16 พฤษภาคม 2567 รวม 40 วันงาน  โดยจะแยกฝึกตามหน่วยต่างๆทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และพื้นที่สัตหีบ 

    การฝึกฝีพายในหน่วยในเรือในน้ำ ระหว่าง 28 พฤษภาคม – 30 กรกฎาคม 2567 รวม 40 วันงาน

    ในการเตรียมเรือพระราชพิธีนั้น  อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ได้ดำเนินการ สำรวจ และซ่อมทำเรือพระที่นั่ง และเรือรูปสัตว์ ตั้งแต่ ธันวาคม 2566 โดยมีกำหนดส่งมอบให้กรมศิลปากรในวันที่ 5 เมษายน 2567  เพื่อ ดำเนินการ ตกแต่งตัวเรือ   นอกจากนั้นยังได้ซ่อมเรือดั้ง และเรือแซง ตั้งแต่ ธันวาคม 2566 ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 15 เมษายน 2567  ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2567 อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ได้เริ่มนำช่างจากบริษัทเอกชน เข้าซ่อมทำเรือพระราชพิธี ณ กองเรือเล็ก กรมการขนส่งทหารเรือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี คลองบางกอกน้อย และโรงเรือพระราชพิธีท่าวาสุกรี

การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในครั้งนี้ใช้เรือ พระราชพิธี จำนวนทั้งสิ้น 52 ลำ จัดขบวนเป็น 5 ริ้ว ความยาว 1,200 เมตร กว้าง 90 เมตร โดยใช้กำลังพลประจำเรือในขบวนเรือพระราชพิธี 

รวมทั้งสิ้น 2,200 นาย และในขบวนเรือประกอบด้วยเรือประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. เรือริ้วสายกลาง จำนวน 10 ลำ ประกอบด้วย 

1.1 เรือพระที่นั่งทรง จำนวน 1 ลำ คือ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เป็นเรือพระที่นั่ง 

ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงประทับ

1.2 เรือพระที่นั่งรอง จำนวน 2 ลำ คือ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์

1.3 เรือทรงผ้าไตร จำนวน 1 ลำ คือ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช

2. เรือกลองใน - เรือกลองนอก จำนวน 2 ลำ ประกอบด้วย 

2.1 เรือกลองใน คือ เรือแตงโม เป็นเรือสำหรับ ผู้บัญชาการขบวนเรือ

2.2 เรือกลองนอก คือ เรืออีเหลือง เป็นเรือสำหรับ รองผู้บัญชาการขบวนเรือ

2.3 เรือตำรวจ จำนวน 3 ลำ ประกอบด้วย เรือตำรวจ 1 - 3 ซึ่งเป็นเรือสำหรับคุ้มกันขบวนเรือพระที่นั่งภายในขบวน

2.4 เรือแซง จำนวน 1 ลำ คือ เรือแซง 7 ซึ่งเป็นเรืออารักขาพระมหากษัตริย์ ปิดท้ายขบวน

3. เรือริ้วสายใน จำนวน 2 ริ้ว ริ้วละ 7 ลำ รวมเป็น 14 ลำ ประกอบด้วย

3.1 เรือประตูหน้า จำนวน 2 ลำ ประกอบด้วย เรือทองขวานฟ้า และเรือทองบ้าบิ่น เป็นเรือนำริ้วขบวน

3.2 เรือพิฆาต จำนวน 2 ลำ ประกอบด้วย เรือเสือทะยานชล  และเรือเสือคำรณสินธุ์ เป็นเรือนำขบวนที่ใช้ในการรบ

3.3 เรือรูปสัตว์ จำนวน 8 ลำ ประกอบด้วย เรืออสุรวายุภักษ์ เรืออสุรปักษี เรือกระบี่ราญรอนราพณ์

เรือกระบี่ปราบเมืองมาร เรือพาลีรั้งทวีป เรือสุครีพครองเมือง เรือครุฑเหินเห็จ และเรือครุฑเตร็จไตรจักร เป็นเรือที่แกะสลักหัวเรือเป็นรูปสัตว์จริงหรือสัตว์ในเทพนิยาย เพื่อบอกถึงเรือลำใดเป็นของกรมใด หรือขุนนางผู้ใด

3.4 เรือคู่ชัก จำนวน 2 ลำ ประกอบด้วย เรือเอกไชยเหินหาว และเรือเอกไชยหลาวทอง เป็นนำหน้าหรือชักลากเรือพระที่นั่ง

4. เรือริ้วสายนอก จำนวน 2 ริ้ว ริ้วละ 14 ลำ รวม 28 ลำ ประกอบด้วย

4.1 เรือดั้ง จำนวน 22 ลำ ประกอบด้วย เรือดั้ง 1 – 22 เป็นเรือป้องกันขบวนส่วนหน้า 

4.2 เรือแซง จำนวน 6 ลำ ประกอบด้วย เรือแซง 1 - 6 เป็นเรืออารักขาพระมหากษัตริย์

ทั้งนี้ งานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร กำหนดจัดให้มีขึ้นในวันที่ 27 ตุลาคม 2567

 

ข่าวอัพเดท

นวัตกรชุมชน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนไทยด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม

นวัตกรชุมชน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนไทยด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม

วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

สวทช. โชว์แพลตฟอร์ม LEAD EducationสอนAIได้ผล

สวทช. โชว์แพลตฟอร์ม LEAD EducationสอนAIได้ผล

วันจันทร์ ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2568

มรภ.อุตรดิตถ์ ดันข้อต่อใหม่ บ.มะขามสามเกลอสู่ตลาดมูลค่าสูง

มรภ.อุตรดิตถ์ ดันข้อต่อใหม่ บ.มะขามสามเกลอสู่ตลาดมูลค่าสูง

วันจันทร์ ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2568

เซ็นทรัล หาดใหญ่ จัดงาน “Hatyai Pride for All” ฉลองเดือนแห่งความเท่าเทียม เปิดโอกาสให้ทุกเพศสภาพแสดงออกได้อย่างอิสระ

เซ็นทรัล หาดใหญ่ จัดงาน “Hatyai Pride for All” ฉลองเดือนแห่งความเท่าเทียม เปิดโอกาสให้ทุกเพศสภาพแสดงออกได้อย่างอิสระ

วันจันทร์ ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2568

โครงการเยาวชนไทยในสหรัฐฯ นำ 200 คน เยือนแผ่นดินแม่

โครงการเยาวชนไทยในสหรัฐฯ นำ 200 คน เยือนแผ่นดินแม่

วันจันทร์ ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2568

ฝนหนักน่าน เชียงรายอ่วม ปภ. Cell Broadcastเตือน

ฝนหนักน่าน เชียงรายอ่วม ปภ. Cell Broadcastเตือน

วันเสาร์ ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2568

DPU เปิดเคล็ดลับธุรกิจอาหารรอดได้รวยให้เป็น

DPU เปิดเคล็ดลับธุรกิจอาหารรอดได้รวยให้เป็น

วันพฤหัส ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2568

ข่าวที่เกี่ยวข้อง