ระดมนักวิจัยช่างพื้นบ้านซ่อมสร้างอาคารเขื่อนสู้แผ่นดินไหว

วันเสาร์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

การดู : 339

ระดมนักวิจัยช่างพื้นบ้านซ่อมสร้างอาคารเขื่อนสู้แผ่นดินไหว

แชร์ :

ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ วช. จับมือทุกภาคส่วนระดมสรรพกำลังพอกเสริมความแข็งแรงอาคารทีุ่โดนแผ่นดินไหวแม่ลาวเขย่า ให้เป็นต้นแบบให้กับวิศวกรและช่างชุมชนใช้สร้าง ซ่อม อาคารบ้านเรือนให้มั่นคง ปลอดภัยจากธรณีพิบัติ  

ศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย

 

     ศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ผอ.ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวถึงการเตรียมการรับมือภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้น แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.จำลองการอพยพหนีภัยสึนามิที่บริเวณบ้านทับละมุ จังหวัดพังงา ปัจจุบันมีประชากรและนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบมากขึ้นหากเกิดเหตุขึ้นอีก 2. การรับมือแผ่นดินไหวที่มีประสิทธิภาพ  1) ออกแบบก่อสร้างอาคารรุ่นใหม่ให้ต้านทานแผ่นดินไหว 2) เสริมกำลังอาคารอ่อนแอที่มีอยู่ให้แข็งแรงขึ้น แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องยังขาดความรู้ความเข้าใจในวิธีการเสริมกำลังอาคาร และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง  ทั้งนี้ เนื่องจากการพยากรณ์และรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว ยังไม่แม่นยำเพียงพอ มีโอกาสรอดชีวิตน้อยหากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง  

     ศ.ดร.เป็นหนึ่ง  กล่าวด้วยว่า นอกจากการปรับปรุงอาคาร จำเป็นอย่างยิ่งต้องปรับปรุงกฎกระทรวง สร้างมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหว วิเคราะห์ความเสี่ยงกันใหม่ จากข้อมูลที่อัพเดตชัดเจน เป็นสากลมากขึ้น มีตัวเลขความเสี่ยงภัยที่มีผลต่ออาคารขนาดเล็กและขนาดใหญ่ทุกอำเภอ ทุกจังหวัดในประเทศ เพื่อให้ทราบพื้นที่ใดเสี่ยงมากน้อยเพียงใด เพื่อให้ออกแบบคำนวณแรงตามระดับความเสี่ยง นอกจากนี้ควรจัดอบรมให้วิศวกรมีความรู้ความเข้าใจการออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหว ทั้งต้องแก้ไขหลักสูตรระดับปริญญาตรีเพื่อให้วิศวกรรุ่นใหม่ทำงานได้ รวมถึงการปรับปรุงกฎหมายการเสริมกำลังให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ มีค่าใช้จ่ายประมาณร้อยละ 10-20 ของการก่อสร้างอาคารใหม่ ซึ่งจจะผลักดันให้เป็นรูปธรรมต่อไป  

     ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้จัดกิจกรรม 1 ทศวรรษแผ่นดินไหวแม่ลาว รำลึกเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 ครบรอบ 10 ปี ว่า ภาควิชาการได้ผนึกกำลังกับทุกภาคส่วนจัดนิทรรศการและเวทีเสวนา มีการประชุมวิชาการเผยแพร่ผลงานวิจัยและวิชาการด้านแผ่นดินไหว รวมถึงการลงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว เป็นการเตรียมความพร้อมและรับมือภัยแผ่นดินไหวในอนาคตด้วย 

     สำหรีบอาคารที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวแม่ลาวที่ซ่อมแซม เสริมกำลังแล้ว ได้แก่ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์   โดยรศ.ดร.ธีรพันธ์ อรธรรมรัตน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ติดตั้งอุปกรณ์วัดการสั่นสะเทือนที่พัฒนาขึ้นรวม 13 ตัว ในอาคารอุบัติเหตุและอาคารฉุกเฉิน ซึ่งประหยัดกว่านำเข้าถึง 10 เท่า เมื่อเกิดความสั่นไหว อุปกรณ์ จะรายงานข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตแบบเรียลไทม์ ไปที่เซิร์ฟเวอร์ในกรุงเทพมหานคร เพื่อตรวจสอบค่าเคลื่อนที่สัมพัทธ์ระหว่างชั้นของอาคาร พร้อมส่งสัญญาณแจ้งเตือนบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เช่น วิศวกร เจ้าหน้าที่เทคนิค ประเมินความปลอดภัยของอาคารอย่างทันท่วงที ช่วยลดความสับสนหลังเกิดเหตุ ทางโรงพยาบาลหวังเป็นอาคารต้นแบบให้อาคารอื่นนำไปประยุกต์ใช้  

วัดความสั่น

 

     ส่วนอาคารโรงเรียน ศ.ดร.อมร พิมานมาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้สำรวจโรงเรียนชุมชนบ้านป่าก่อดำ เป็นอาคารใต้ถุนโล่ง ไม่มีการต่อเติม เสี่ยงต่อการวิบัติชั้นล่าง และพบรอยร้าวเฉือนที่คานรองรับชั้น 2 คาดว่าจะเกิดจากแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว อีกทั้งคานตามยาวไม่เข้าศูนย์กลางเสา การถ่ายแรงจึงไม่ค่อยดี ได้ช่วยเหลือการก่อสร้างและเสริมกำลังให้แข็งแรงปลอดภัย จัดทำผังหลักการทำงานของระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนแผ่นดินไหว เป็นตัวอย่างการเสริมกำลังอาคารเรียนที่ง่ายต่อการศึกษาและทำความเข้าใจในการวิเคราะห์และออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหวแก่หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงวิศวกร สถาปนิก ผู้รับเหมา และบุคคลอื่นที่สนใจ 

     อีกแห่ง โรงเรียนศรีถ้อยสุนทรราษฎร์วิทยา เข้าร่วมโครงการต้นแบบเสริมกำลังอาคารเรียน เป็นตัวอย่างให้กับหน่วยงานรัฐและเอกชน เจ้าของอาคาร วิศวกร ผู้รับเหมา และประชาชนที่สนใจใช้ศึกษาเป็นตัวอย่าง ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ทางการไต้หวัน และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)  โดย รศ.ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ใช้เทคนิคเสริมกำลังด้วยการพอก ขยายขนาดของเสา โดยเทคอนกรีตใหม่หุ้มรอบเสาเดิม ส่วนที่พอกใหม่เสริมเหล็ก ด้วยการเจาะเสียบไว้กับโครงสร้างเดิม  

     รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ประธานมูลนิธิมดชนะภัย อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ช่วยเหลือก่อสร้างศาลาอเนกประสงค์ วัดดงมะเฟือง เเทนอาคารเก่าที่เสียหายอย่างมาก เพราะอยู่ใกล้จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว ้ต้องรื้อทิ้งทั้งหมด ออกเเบบใหม่ให้โครงสร้างต้านเเผ่นดินไหว และใช้เป็นศูนย์อพยพของชุมชนหากเกิดเเผ่นดินไหวหรือภัยพิบัติอื่น ๆ  ทั้งนี้ ในการก่อสร้างได้พัฒนาให้เป็นกระบวนการเรียนรู้กับช่างท้องถิ่นได้ทราบรายละเอียดการก่อสร้างอาคาร่ต้านเเผ่นดินไหว ซึ่งเเตกต่างจากอาคารทั่วไป โดยทีมช่างชุมชนในพื้นที่กว่า 10 ทีมเป็นช่างก่อสร้างโดยอาชีพอยู่เเล้ว ได้รับการอบรมการก่อสร้างอาคารต้านทานแผ่นดินไหวจากมูลนิธิมดชนะภัย มาลงมือสร้างอาคารหลังนี้ร่วมกัน ความรู้และทักษะจะติดตัวช่างในพื้นที่ ไปก่อสร้างบ้านในชุมชนให้ปลอดภัยต่อไป  

ตรวจสอบเขื่อน

 

     สำหรับโครงการปรับปรุงเขื่อนแม่สรวย จากความกังวลของราษฎรท้ายเขื่อนเรื่องความปลอดภัย ที่พบรอยแตกร้าว กรมชลประทานได้ร่วมกับนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ปรับปรุง โดยเน้นสันทำนบเขื่อนให้ต้านเเละยืดหยุ่นจากเเผ่นดินไหว เสริมความมั่นคงของไหล่เขาฝั่งขวาของเขื่อน ติดตั้งอุปกรณ์เตือนภัย เเละดำเนินโครงการศึกษา Dam Break เขื่อนแม่สรวย เพื่อสร้างเเผน Emergency Action Plan (EAP) วงเงินก่อสร้างปรับปรุงเขื่อนงบประมาณ 85.6 ล้านบาท ประโยชน์ที่ได้รับคือใช้ส่งน้ำช่วยการเพาะปลูก บรรเทาปัญหาอุทกภัยในเขตลุ่มน้ำแม่ลาว และเป็นแหล่งท่องเที่ยวจากแพเปียก ที่สร้างรายให้ชุมชนนับร้อยล้านบาทต่อปี 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง