ท่องเที่ยวไทยสู่ Net Zero Tourism มีอนาคต

วันจันทร์ ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

การดู : 177

ท่องเที่ยวไทยสู่ Net Zero Tourism มีอนาคต

แชร์ :

เป้าหมายท่องเที่ยวไทยสู่ Net Zero Tourism มีอนาคตชัดเจน หน่วยบริหารทุนเพื่อการแข่งขันร่วมเป็นทีมเดียวกับกรมการท่องเที่ยวและองการจัดการก๊าซเรือนกระจก มุ่งยกระดับบุคลากร ธุรกิจท่องเที่ยวลดคาร์บอนเป็นศูนย์

         เมื่อวันที่ 12 กค. 67 ได้มีการประชุมหารือระหว่าง ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สกสว. ประธานอนุกรรมการแผนงานการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) แผนงานการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บพข. ณัฏฐิรา แพงคุณ รองอธิบดีกรมการท่องเที่ยวและ ภคมน สุภาพพันธ์ ผอ.สำนักรับรองธุรกิจคาร์บอนองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.)   ตลอดจนผู้บริหารหน่วยงาน ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิจัย บพข.

ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช

 

การประชุมครั้งนี้ ทุกฝ่ายเห็นพ้องในการจัดตั้งคณะทำงาง านร่วมระหว่บพข. กรมการท่องเที่ยว และ อบก. จัดตั้งคณะทำงานนี้แลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น และวางแผนการดำเนินงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ การแบ่งปันข้อมูล ตลอดจนการพัฒนาโครงการร่วมกันในด้านต่างๆ อาทิ การผสมผสานมาตรฐานของกรมการท่องเที่ยวเข้ากับมาตรฐานจากผลการวิจัยชั้นแนวหน้าของ บพข. สู่ภาคปฏิบัติ เกิดความร่วมมือในการสร้างต้นแบบผู้ประกอบการและแหล่งท่องเที่ยว Net Zero Tourism การยกระดับทักษะของบุคลากรภาคการท่องเที่ยว และการริเริ่มในการสร้าง DMO การท่องเที่ยว Net Zero Tourism ในระดับชาติ เป็นการทำงานเชิงบูรณาการความร่วมมือที่กำหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน ต่อเนื่อง

คมน สุภาพพันธ์

 

ที่ประชุมยังได้หารือบทบาทของแต่ละหน่วยงาน บพข. จะสนับสนุนการวิจัย นวัตกรรม เน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการท่องเที่ยว  ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายพัฒนามาตรฐาน PCR บริการท่องเที่ยว และแนวทางการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ Nature-based Solution (NbS) ในแหล่งท่องเที่ยว 33 แห่ง รวมถึงการริเริ่มจัดทำ Carbon Footprint Organization (CFO) ภาคบริการการท่องเที่ยว มี โรงแรม 7 แห่ง ผู้ประกอบการขนาดเล็ก  4 กิจการเข้าร่วม ทั้งได้พัฒนาต้นแบบการบริหารจัดการองค์กรจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว Destination Management Organization : DMO ระดับจังหวัด ที่จ.เพชรบุรี รวมถึงการพัฒนา Zero Carbon Application ปัจจุบันมีผู้ใช้ 2,235 ราย ประเมินคาร์บอนฟุตพรินท์ 600 ครั้ง ชดเชยคาร์บอน 425 ตันคาร์บอนออกไซด์ (tCO2eq) สำหรับความร่วมมือกับภาคเอกชน คือ สมาคมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย หรือ TEATA  ได้ทำงานร่วมกับนักวิจัย/นักวิชาการราว 20 มหาวิทยาลัย โดยออกแบบผลิตภัณฑ์/เส้นทาง/กิจกรรมการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ได้รับการรับรองจาก อบก.จำนวน 183 เส้นทาง ครอบคลุม 77 จังหวัด สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากโปรแกรมปกติ คาดว่าจะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2,250 tCO2eq เหลือ 1,550 tCO2eq โดยลงได้ราว 700 tCO2eq คิดเป็นร้อยละ 31

ณัฏฐิรา แพงคุณ

 

ช่วงปี 2568-2570 บพข. เตรียมการผลักดันการท่องเที่ยว Carbon Neutral Tourism : CNT) สู่ Net Zero Tourism ตั้งเป้าหมายในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จำนวน 44 แห่ง ประกอบด้วย แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเกาะ อุทยาน และการท่องเที่ยววิถีสายน้ำ กระบวนการนี้จะพัฒนาเครื่องมือ Net Zero Pathway ของแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ร่วมกับ อบก. และองค์กรนานาชาติ เช่น UN Tourism, GSTC, WTTC, The Travel Foundation, และ Nature-based Solutions Initiative มีเป้าหมายให้ประเทศไทยมีต้นแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่สอดคล้องกับแนวทางของ CBD, UNFCCC มีแผนการปรับตัวและความยืดหยุ่นในภาคการท่องเที่ยว ยกระดับการท่องเที่ยว ที่เน้นคุณค่าและความยั่งยืนภายในปี 2570 ซึ่ง UN Tourism ประกาศให้เป็น International Year of Sustainable & Resilient Tourism

ข่าวที่เกี่ยวข้อง