sPaceเท้าเทียมไดนามิกยกระดับผู้พิการ

วันอาทิตย์ ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2567

การดู : 473

sPaceเท้าเทียมไดนามิกยกระดับผู้พิการ

แชร์ :

     สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหิดล ส่งมอบนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิก sPace คุณภาพสูง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการในโรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด และโรงพยาบาลสุรินทร์  ที่อาคาร 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี มี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในการส่งมอบนวัตกรรม เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567 

     เท้าเทียมไดนามิก sPace พัฒนาโดยนักวิจัยของไทย เป็นวัสดุอุปกรณ์นวัตกรรมที่มีคุณภาพ ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นประจำปี 2566  ผ่านการทดสอบตามมาตรการสากล ISO 10328 จากประเทศเยอรมนี มีการทดลองทางด้านคลินิกโดยโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  วช.ได้ส่งมอบนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกเอสเพส sPace ทั่วทุกภูมิภาค 
     รศ.ดร.ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ หัวหน้าโครงการวิจัยพัฒนาเท้าเทียมไดนามิกเอสเพส กล่าวถึง การวิจัยและการพัฒนาเพื่อให้ผู้พิการเข้าถึงและนำนวัตกรรมที่ทันสมัย ปลอดภัย ได้รับมาตรฐานไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม เป็นจุดเริ่มต้นของการต่อยอดให้ประชาชนผู้พิการทุกกลุ่มได้ยกระดับความเป็นอยู่และมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้น และดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
    ดร.วิภารัตน์ กล่าวว่า วช.ได้สนับสนุน ผศ.ดร.ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ และคณะ แห่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินงานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้พิการขาขาดให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ช่วยลดต้นทุนการนำเข้าเท้าเทียมจากต่างประเทศซึ่งมีราคาสูง การลงพื้นที่ในครั้งนี้ ได้มอบให้กับ โรงพยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด รงพยาบาลขอนแก่น และ โรงพยาบาลสุรินทร์ จะมีการติดตามประเมินการใช้งาน เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการขอเข้าระบบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ต่อไป

     นายแพทย์มนต์ชัย วิวัฒนาสิทธิพงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ กล่าวถึงการดูแลประชาชนในเขตสุขภาพที่ 10 และของจ.อุบลราชธานี  มีประชากรราว 4-5 ล้านคน จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อลดภาระ เพิ่มโอกาสทางสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้เข้ารับบริการการดูแลสุขภาพ ขอขอบคุณ วช. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลั และมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ให้ความสำคัญในการนำนวัตกรรมมามอบให้กับโรงพยาบาลในครั้งนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง