SAMVADใช้ศาสนาคลายขัดแย้งพุทธ-ฮินดูประชุมลดภัยโลก

วันพุธ ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2568

การดู : 196

SAMVADใช้ศาสนาคลายขัดแย้งพุทธ-ฮินดูประชุมลดภัยโลก

แชร์ :

สถาบันคลังปัญญา ไทย-อินเดีย ร่วมเป็นเจ้าภาพการประชุมสากล SAMVAD นำหลักการทางจิตวิญญาณของเอเชียโบราณจากศาสนาฮินดูและพุทธแก้ปัญหาความขัดแย้งโลก ด้านการเมือง ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่  28 มค 68 Vivekananda International Foundation, India (VIF = วิเวกานันทะ อินเตอร์เนชั่นแนล ฟาวเดชั่น =วีไอเอฟ ,อินเดีย)ร่วมกับสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980,ศูนย์อินเดียศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,International Buddhist Confederation(IBC)และมูลนิธิวีระภุชงค์ จัดแถลงข่าวงานประชุมSAMVAD ครั้งที่ 4 การส่งเสริมความร่วมมือทางศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมหัวข้อ”ศตวรรษแห่งเอเชียของธรรมะ-ธรรม”การกระตุ้นให้เกิดความรับผิดชอบร่วมกันในระดับสากลและความยั่งยืนที่เกิดจากการพึ่งพาอาศัยกัน การประชุมครั้งนี้สถาบันคลังปัญญา Think Tankของอินเดียและไทยร่วมกันเป็นเจ้าภาพ

ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ แถลงข่าวงานประชุมSAMVAD ครั้งที่ 4

งานประชุมSAMVAD ครั้งที่ 4 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-17 กพ. 68 โดยวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 68 จัดที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติชั้น G อาคารสหประชาชาติ กรุงเทพฯ ,วันที่ 15 ก.พ 68 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จ.พระนครศรีอยุธยา ,วันที่ 16 - 17 ก.พ 68 โรงแรมโซฟิเทลกระบี่โภคีธรากอล์ฟแอนด์สปารีสอร์ท จ.กระบี่ ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมศักดิ์สิทธิ์ดินแดนแห่งนาคาและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมยุคโบราณระหว่างอินเดียใต้สุวรรณภูมิจีนไกลออกไปถึงกรีก-โรมัน

SAMVAD เป็นภาษาสันสกฤตหมายถึงการสนทนา การพูดคุยร่วมกัน สร้างความเข้าใจและสร้างสันติสุขผ่านการสนทนาการแลกเปลี่ยนความคิด “สัมวาทะ”เป็นภาษาบาลีหมายถึงการสนทนาหรือพูดคุยอย่างสร้างสรรค์ สัมวาทะ อาจใช้ในบริบทการสนทนาเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งการแลกเปลี่ยนความรู้และพูดคุยอย่างเปิดใจ

การประชุมSAMVADเป็นผลสืบเนื่องจากการเจรจาระหว่างนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐอินเดียและนายชินโซะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศญี่ปุ่นระหว่างการเยือนญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรีอินเดียในปีพ.ศ 2558 หลังจากนั้นVivekananda จึงร่วมกับJapan Foundation (TBC)จัดการประชุมนำหลักปรัชญาและหลักการทางจิตวิญญาณของเอเชียโบราณจากศาสนาฮินดูและพุทธใช้แก้ปัญหาความขัดแย้งสร้างความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมแก้ไขปัญหาภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ทั้ง 2 ประการของโลก

ประชุมSAMVADที่จะมีขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 เจ้าภาพร่วม นำเสนอหัวข้อ”ศตวรรษแห่งเอเชียของธรรมะ-ธรรม”เนื่องจากประเทศไทยมีความเชื่อมโยงทางศาสนาวัฒนธรรมอารยธรรมกับอินเดียมายาวนานกว่า 2,000 ปีมีการผสมผสานระหว่างศาสนาพุทธและศาสนาฮินดูอย่างกลมกลืนเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้อินเดียและไทยได้ฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตครบรอบ 75 ปีในพ.ศ 2565

ดร.สุภชัย วีระภุชงค์เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัยกล่าวว่า การประกาศศตวรรษแห่งธรรมมิได้จำกัดอยู่เพียงหลักธรรมของพุทธศาสนาเท่านั้นแต่หมายถึงหลักธรรมของทุกศาสนาในโลก ซึ่งต่างก็มีหลักธรรมร่วมกันโดยเฉพาะหลักมนุษยธรรมส่งเสริมการสร้างสันติภาพ แก้ไขวิกฤตร่วมกันของมวลมนุษยชาติ ทางด้านการเมือง ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อนำโลกในศตวรรษใหม่ไปสู่ความปรองดอง สันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน

ดร.สุภชัย วีระภุชงค์-ฯพณฯนาเกซ ซิงค์

ฯพณฯนาเกซ ซิงค์ เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทยแถลงสนับสนุนการทำงานของVIFในฐานะสถาบันคลังปัญญาระดับแนวหน้าของอินเดียมีบทบาทสำคัญคือการวิจัยนโยบายสนับสนุนรัฐบาลอินเดียในด้านความมั่นคงระดับชาติ การจัดการเสวนา การประชุมประเด็นสำคัญทางยุทธศาสตร์ การเผยแพร่ความรู้ด้านการป้องกันประเทศและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเชื่อมโยงกับผู้นำทางการเมืองนักวิชาการและนักคิดเชิงยุทธศาสตร์ทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ

พระเมธีวรญาณ คณบดีคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประธานกรรมการบริหารสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย980 กล่าวว่า การประชุม SAMVAD ในประเทศไทยเป็นโอกาสดี ที่แสดงถึงความร่วมมือด้านพุทธศาสนา เป็นการประกาศจุดยืนการเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาในเอเชียใต้เป็นแรงขับเคลื่อนจะนำพุทธศาสนาให้แพร่กระจายเข้าไปในสังคมไทยและสังคมต่างประเทศ จำต้องอาศัยธรรมเป็นบันไดก้าวแรกสู่ศตวรรษแห่งธรรมทุกคนมีความเข้าใจเรื่องธรรมในทางพุทธศาสนาในเรื่องความจำเป็นของชีวิตวิธีการปฏิบัติที่จะสร้างสุขให้แก่ตัวเองและสังคม

พระเมธีวรญาณ กล่าวอีกว่าทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดีแต่เราต้องนิยามความดีในลักษณะแกนกลางคือใครก็เข้าถึงความดีได้เหมือนกับหลักธรรม ใครก็ปฏิบัติได้ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับความเชื่อ รูปแบบเป็นการเปิดใจให้กว้างยอมรับเบื้องต้นในการเข้าสู่ธรรมต่อไป

การประชุม SAMVAD จัดแล้ว 3 ครั้ง ครั้งแรกที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดียปีพ.ศ 2558 ครั้งที่ 2 ที่กรุงย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ปี พ.ศ 2560 ครั้งที่ 3 ที่เมืองอูลันบาตอร์ ประเทศมองโกเลียพ.ศ 2562 ครั้งที่ 4 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพยกประเด็นสัตวแพทย์แห่งเอเชียของธรรมะ-ธรรม(ASIAN CENTURY  OF DHAMA-DHAMA) โดยนำหลักคำสอนและปรัชญาโบราณของธรรมะ(สันสกฤต)และธรรม(บาลี)เป็นแนวทางการสร้างโลกที่มีมนุษยธรรมเมตตาธรรมและความยั่งยืนต่อไปในอนาคต

ข่าวอัพเดท

สัมมนาเจ้าหน้าที่กงสุลทั่วโลก ติวเข้มบริการทันสมัยทุกมิติ

สัมมนาเจ้าหน้าที่กงสุลทั่วโลก ติวเข้มบริการทันสมัยทุกมิติ

วันจันทร์ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

TJA รับมอบทุนการศึกษาระดับ ป.โท จากซีพี ออลล์ เพื่อพัฒนาศักยภาพสื่อมวลชน

TJA รับมอบทุนการศึกษาระดับ ป.โท จากซีพี ออลล์ เพื่อพัฒนาศักยภาพสื่อมวลชน

วันจันทร์ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

”ไทยรัฐ-มติชน-ข่าวสด-เดลินิวส์“คว้ารางวัลประกวดพาดหัวข่าวสร้างสรรค์ดีเด่น

”ไทยรัฐ-มติชน-ข่าวสด-เดลินิวส์“คว้ารางวัลประกวดพาดหัวข่าวสร้างสรรค์ดีเด่น

วันเสาร์ ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

ชี้โอกาสไทยยังมีให้ลงทุนวิจัยนวัตกรรมที่คืนทุนไวใช้ได้จริง

ชี้โอกาสไทยยังมีให้ลงทุนวิจัยนวัตกรรมที่คืนทุนไวใช้ได้จริง

วันเสาร์ ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

อว.-มท.เดินเครื่องรับมืออุทกภัยน้ำแล้ง

อว.-มท.เดินเครื่องรับมืออุทกภัยน้ำแล้ง

วันพุธ ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

สนท.มอบรางวัล “เกียรติยศคนหนังสือพิมพ์” เชิดชูเกียรติ “พงษ์ศักดิ์-สุทธิชัย-ซูม”

สนท.มอบรางวัล “เกียรติยศคนหนังสือพิมพ์” เชิดชูเกียรติ “พงษ์ศักดิ์-สุทธิชัย-ซูม”

วันพุธ ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

มจธ. พัฒนาอะลูมิเนียมใหม่ทนร้อนสูงผสมScธาตุหายากเพื่ออุตสาหกรรม EV

มจธ. พัฒนาอะลูมิเนียมใหม่ทนร้อนสูงผสมScธาตุหายากเพื่ออุตสาหกรรม EV

วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

ข่าวที่เกี่ยวข้อง