เอ็มเทคชู WLS นวัตกรรม AIดูแลผู้สูงอายุอยู่ลำพังได้ดี

วันพุธ ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

การดู : 139

เอ็มเทคชู WLS นวัตกรรม AIดูแลผู้สูงอายุอยู่ลำพังได้ดี

แชร์ :

เอ็มเทค เปิดผลทดสอบ WLS นวัตกรรม AI ผู้ช่วยดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง ให้ผลดีเหนือกล้องวงจรปิด เก็บข้อมูล แสดงผลย้อนหลังสื่อสารกับบุตรหลานที่อยู่ห่างไกลได้ทันที

อุปกรณ์แจ้งเตือนฉุกเฉิน เมื่อล้ม

        นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผอ.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) พร้อมด้วย ดร.ศราวุธ เลิศพลังสันติ รองผอ.ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แถลงผลการศึกษาโครงการประยุกต์และทดสอบประสิทธิผลของระบบดูแลผู้อยู่อาศัย เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีและปลอดภัยด้วยปัญญาประดิษฐ์ หรือ การศึกษา MTEC Well-living systems (WLS ) นวัตกรรม AI ผู้ช่วยดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง ขยายผลรองรับสังคมสูงวัย

อุปกรณ์ WLS

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่าในปีงบประมาณ 2566 สวรส. ได้สนับสนุนทุนวิจัยแก่ทีมวิจัยเอ็มเทค สวทช. ดำเนินโครงการประยุกต์ใช้และทดสอบประสิทธิผลของระบบดูแลผู้อยู่อาศัยเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีและปลอดภัยด้วยปัญญาประดิษฐ์ หรือ Well-Living Systems นวัตกรรม ผู้ช่วยของผู้ดูแล มีจุดเด่นในการเรียนรู้พฤติกรรมผู้สูงอายุอัตโนมัติ เฝ้าระวัง แจ้งเตือน เมื่อพบพฤติกรรมผิดปกติ โดยไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัว เนื่องจากไม่ใช้กล้อง ช่วยเตือนกิจกรรมสุขภาพ เช่น การกินยาและการเคลื่อนไหวร่างกาย “การพัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุด้วยปัญญาประดิษฐ์ที่ทุกครอบครัวเข้าถึงได้ จะลดช่องว่างในการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง สร้างโอกาสให้ผู้สูงอายุได้ใช้เทคโนโลยีการดูแลที่ทันสมัยอย่างทั่วถึง เพื่อเป็นสังคมผู้สูงวัยที่ปลอดภัยและยั่งยืน"

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์

ดร.ศราวุธ กล่าวว่า ทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ที่ดี กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ เอ็มเทค ได้ทดสอบประสิทธิผลของระบบดูแลผู้อยู่อาศัยเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีและปลอดภัยด้วยปัญญาประดิษฐ์ในบริบทการใช้งานจริงของครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง  โดยทำงานร่วมกับ ศูนย์บริการสาธารณสุข 45 ร่มเกล้า สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร จัดหาอาสาสมัครเข้าร่วม และได้ทดสอบประสิทธิผลการทำงานของระบบกับตัวแทนกลุ่มผู้ใช้เป้าหมายในบริบทการใช้งานจริง รวม 34 ครัวเรือน แต่ละครัวเรือนมีตัวแทนผู้สูงอายุและผู้ดูแล อย่างน้อย 1 ท่าน คณะวิจัยได้ติดตั้งต้นแบบที่ที่พักอาศัย ต่อเนื่องเป็นเวลา 2 เดือน ติดตามสัมภาษณ์การใช้งาน ปรับปรุงระบบระหว่างการทดสอบการใช้งานระบบอย่างต่อเนื่อง พบว่าMTEC Well-living systems ช่วยลดภาระของผู้ดูแล พร้อมสร้างความอุ่นใจให้แก่ทั้งผู้สูงอายุและครอบครัว  ทั้งนี้โครงการได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)

ดร.ศราวุธ เลิศพลังสันติ

นางศิริพร เพ็งเจริญ หรือ คุณยิ้ม พยาบาลวิชาชีพชำนาญ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคลองโยง จ.นครปฐม กล่าวว่า การมีอุปกรณ์ WLS มาทดสอบ เป็นเรื่องที่ดีในการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่บ้านโดยลำพัง เนื่องจากตนเองและคุณพ่ออยู่คนละบ้าน ห่างกัน 50 กม. เครื่องWLS ช่วยให้ติดตามเรียนรู้พฤติกรรม กิจวัตรประจำวันของคุณพ่อได้ดี ทั้งการเตือนกินยา เซนเซอร์ติดประตูห้องน้ำ และอุปกรณ์อื่น ๆ มีการเก็บข้อมูลทางสถิติ  บันทึกไว้เพื่อให้ดูข้อมูลว่า แต่ละช่วงเวลาคุณพ่อทำอะไร ใช้เวลากับจุดใดบ่อย เช่น เซนเซอร์หน้าประตูห้องน้ำเปิด-ปิด ถี่ไหม ทำให้โทรสอบถามได้ อาจท้องเสีย อุปกรณ์ WLS ใช้งานสะดวก ได้ข้อมูลเชิงลึกมากกว่ากล้องวงจรปิดที่เคยใช้ เพราะ ไม่มีความเป็นส่วนตัว สื่อสารได้เฉพาะเมื่ออยู่หน้ากล้อง ตามที่นัดเวลากันเท่านั้น

“ตอนไม่มีอุปกณ์ WLS. คุณพ่อมาก เมื่อ 6-7 ปีที่แล้ว คุณพ่อล้มหมดสติในสวนครึ่งวันโดยไม่รู้ โทรศัพท์ไปพูดคุยช่วงค่ำๆ เสียงเหมือนไม่สบาย สอบถามจึงทราบว่า ล้มอยู่ในสวนครึ่งวัน สุนัขที่บ้าน 4-5 ตัว ตะกุยที่ร่าง จึงฟื้น เดินกลับเข้าบ้านได้ ก็พยายามพาคุณพ่อมาเช็กอาการที่โรงพยาบาล พบว่ามีภาวะแคลเซียมในสมอง หมอให้ยา และเฝ้าระวังโดยตลอด หลังจากนั้นคุณพ่อล้ม ๆ ลุก ๆ อีก7-8 รอบ เพราะแขนขาอ่อนแรงจากการหมดสติครั้งนั้น   เครื่อง WLS จะแจ้งเตือนทางโทรศัพท์ ดูได้ว่า มีกิจวัตรประจำวันอะไรบ้าง ที่ผิดปกติ ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเดิม หรืออยู่ในที่ใดนานกว่าปกติ ติดตามอย่างใกล้ชิดได้ โทรศัพท์สอบถามทันที อยากให้งานวิจัยนี้ออกมาขายเร็ว ๆ เพราะแต่ละบ้านที่มีผู้สูงอายุจะได้ใช้ประโยชน์”

นางศิริพร กล่าวด้วยว่า อุปกรณ์ WLS ข้อมูลจะอยู่ในแอปพลิเคชัน ดูย้อนหลังได้ว่าวานนี้ หรือเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้สูงอายุทำกิจกรรมอะไรบ้าง ทำนายพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ใช้งาน เรียกดูง่ายเพราะแจ้งเตือนเหมือนคุยไลน์ มีข้อมูลเปรียบเทียบเกณฑ์ปกติกับเกณฑ์ไม่ปกติให้เห็น

ผู้สนใจทดลองใช้และร่วมเก็บข้อมูลการใช้งานเพื่อการวิจัยพัฒนา หรือสนใจรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและพัฒนาต่อยอดร่วมกัน ติดต่อที่ ดร.สิทธา สุขกสิ อีเมล sitthas@mtec.or.th หรือ well.living.systems@gmail.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง